ข่าว น้องนุ่น ถูกสามีฆ่าก่อนเผาศพอำพรางคดี https://www.sanook.com/news/9250042 ขณะเกิดเหตุมีการนำลูกน้อยมาอยู่ในที่เกิดเหตุ ถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่ใช่กรณีสุดท้ายแน่นอน
องค์การสหประชาชาติ ระบุว่าประเทศไทยติด 1 ใน 10 ของโลกในการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าความรุนแรงในครอบครัวปี 2565 ที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ มีแนวโน้มการก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า โดยมีรายงานข่าวถึง 1,131 เหตุการณ์ มีข่าวฆ่ากันตายถึง 534 เหตุการณ์
ในความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา คู่รัก หรือแฟน หากเกิดปัญหา ที่เริ่มมีสัญญาณว่าอาจจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง จะมีสิ่งที่สังเกตได้หรือสัญญาณเชิงพฤติกรรมและการแสดงออก โดยมูลนิธิฯ มี 5 สัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงสัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง คือ
1. การแสดงความหึงหวงในทุกอย่างที่คุณทำ เกินขอบเขต
2. การควบคุมบังคับไม่ให้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น การแต่งตัว การคบเพื่อน การสื่อสารกับเพื่อน หรือควบคุมการทำกิจกรรมทางสังคม บางรายควบคุมทางการเงิน
3. การแสดงออกความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เช่น เช็คตลอดเวลาว่าอยู่ทีไหน ทำอะไร และอยู่กับใคร ใครที่เราสามารถคบได้หรือไม่ได้ หากไม่ทำตามจะมีโกรธ หรือส่งข้อความทักหาตลอดเวลา
4. ข่มขู่ ด่าทอ ทำลายข้าวของ ข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงกับครอบครัว เพื่อน สัตว์เลี้ยง
5. การทำร้ายร่างกาย เช่น ใช้กำลังประทุษร้ายบังคับให้ทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และทำร้ายคนรอบข้างที่เรารัก เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือสัตว์เลี้ยง
เมื่อเกิดเหตุความรุนแรงในครั้งแรก ๆ ผู้ถูกกระทำความรุนแรงจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจที่จะไม่บอกคนรอบข้างว่าตัวเองถูกกระทำ เพราะคาดหวังว่า เหตุการณ์จะหยุดอยู่แค่นี้ ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว มักเกิดซ้ำ และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการสังเกตสัญญาณของความรุนแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ขณะเดียวกันการก้าวออกจากความสัมพันธ์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว บทความถัดไปเราจะมาแนะนำวิธีการจัดการ เมื่อพบสัญญาณความรุนแรง หรือถูกทำร้ายร่างกาย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นะคะ