แชร์

เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกระทรวงพม. เพื่อยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและในคู่รัก

อัพเดทล่าสุด: 17 ธ.ค. 2024
14 ผู้เข้าชม

      วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว และแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชนรถปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายชุมชน วัดสวัสดิ์วารี เครือข่ายชุมชนซอยพระเจน กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกระทรวงพม. เพื่อยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและในคู่รัก

     นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเก็บรวบรวมข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่เสนอผ่านสื่อในปี 2566 พบข่าวจำนวน 1,086 ข่าว มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้น 316 ข่าว คิดเป็น 29.1% ยาเสพติด 283 ข่าว คิดเป็น 26.1% ที่พบมากสุดคือ ข่าวทำร้ายกัน 433 ข่าว คิดเป็น 39.9% เกิดขึ้นระหว่างสามี-ภรรยามากที่สุด 152 ข่าว คิดเป็น 35.1% ระหว่างพ่อ-แม่-ลูก 108 ข่าว คิดเป็น 24.9% ระหว่างคู่รักแบบแฟน 102 ข่าว คิดเป็น 23.6% ระหว่างเครือญาติ 71 ข่าว คิดเป็น 16.4% สาเหตุจากการหึงหวง ง้อขอคืนดีไม่ได้ โมโห บันดาลโทสะ
รองลงมาคือ ข่าวฆ่ากัน 388 ข่าว คิดเป็น 35.7% เกิดขึ้นในคู่สามี-ภรรยา 168 ข่าว คิดเป็น 43.3% อาวุธที่ใช้มากสุดคือปืน 64 ข่าว คิดเป็น 49.3% มีดหรือของมีคม 33 ข่าว คิดเป็น 25.4% ทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต 7.7% ช่วงอายุ 46-50 ปี ถูกกระทำมากที่สุด 23.5% อายุ 41-45 ปี 17.4% นอกจากนี้ยังพบกรณีข่าวฆ่ากันในคู่รักแบบแฟน 64 ข่าว คิดเป็น 16.5% สาเหตุเพราะหึงหวง 51.8% ตามง้อไม่สำเร็จ 17.3% โมโหที่ถูกบอกเลิก 12.6% โดยอาวุธที่ใช้ เช่น ปืน 48% มีดหรือของมีคม 28.8% บีบคอหรือแขนรัดคอ 6.8% อายุที่ถูกกระทำมากที่สุด คือ 21-25 ปี 31.3% อายุ 26-30 ปี 26.2%

     สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่น่ากังวล จากข้อมูลข่าวการทำร้ายกันของคนครอบครัว หรือคู่รักพบว่ามีการใช้อาวุธร่วมด้วย ทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับบาดเจ็บสาหัส ผลกระทบด้านจิตใจค่อนข้างรุนแรง สาเหตุก็มาจากความหึงหวง ระแวงมีคนอื่น ตามง้อไม่คืนดี ฯลฯ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่มูลนิธิฯ ได้ให้การช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่ผ่านๆ มาด้วย นางสาวจรีย์ กล่าว

    ด้าน นายชูวิทย์ จันทรส เลขาธิการมูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ มีข้อเสนอ ดังนี้ 1.ขอให้กระทรวง พม. มีมาตรการป้องกันเกี่ยวกับความรุนแรงต่อคู่รักวัยรุ่น 2. สภาเด็กและเยาวชน มีมาตรการป้องกันความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น โดยให้สภาเด็กฯ ทำงานกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้มีความรู้และเข้าใจเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อสารเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย สร้างการตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงและไม่ยอมรับความรุนแรง และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
3. กระทรวงพม.ทำงานส่งเสริมและพัฒนากลไกชุมชนอาสามัคร เช่น อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษ์ (อพม.) มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา เข้าใจกระบวนการทางกฎหมาย มีทักษะในการจับสัญญาณความรุนแรง สามารถรับเรื่อง และให้ความช่วยเหลือ กรณีเกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัวในคู่รักในชุมชน 4. ประชาสัมพันธ์ รับรู้เกี่ยวกับกฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว สร้างความตระหนักรู้ในสังคมต่อเรื่องความรุนแรงในในครอบครัวและคู่รัก และ 5. มีแนวทางเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว ในคู่รัก โดยประสานกลไกสหวิชาชีพต่างในพื้นที่ เพื่อดูแลและเยียวยาครอบครัวผู้ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว


บทความที่เกี่ยวข้อง
เรียนรู้ 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ YSL Beauty จัดเวิร์คช็อป เรียนรู้ 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รัก ภายใต้โครงการ Abuse is Not Love โดย YSL Beauty เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 โดยในครั้งนี้เป็นการเวิร์คช็อปร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่อาคารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
17 ธ.ค. 2024
ขอแสดงความยินดีกับ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "บุคคลที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2567"
ขอแสดงความยินดีกับ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "บุคคลที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2567" จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ที่ สยามสแควร์วัน
17 ธ.ค. 2024
กิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี Bring Back 2nd Chance of Life คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด (BBDO Bangkok) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี Bring Back 2nd Chance of Life คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy