แชร์

เวทีเสวนา "ถอดรหัสรัก...สู่ความรุนแรงและฆาตกรรม"

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
276 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่ข่าวสาร เมื่อวันที่  12 ตุลาคม 2565)

วงเสวนาถอดรหัสรักสู่ฆาตกรรมในไทย พบแนวโน้มสูงขึ้น เหตุหึงหวง ง้อไม่สำเร็จ บวกเหล้า-ยามากระตุ้น ความคิดชายเป็นใหญ่ มองผู้หญิงหรือลูกเป็นสมบัติ จะทำอะไรก็ได้ แนะบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น ป้องกันเหตุซ้ำซาก แยกคดีฆ่าในครอบครัวออกจากคดีอื่น ชงเปิดหลักสูตรสอน “ความสัมพันธ์” ตั้งแต่ประถม ด้านอดีตสามีที่เคยพลั้งมือฆ่าคนรักเพราะฤทธิ์สุราและศักดิ์ศรีปลอม ๆ เผยแม้ออกมาจากคุกแล้วแต่ตราบาปติดอยู่ในใจไม่ลืม จึงอยากเอาเรื่องของตนเตือนใจผู้คน

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 ที่โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กทม. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาหัวข้อ “ถอดรหัสรัก...สู่ความรุนแรงและฆาตกรรม” พร้อมทำการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ชุด “สมบัติ...รัก” โดยเครือข่ายละครเฉพาะกิจเธียเตอร์

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า พม.ได้มีการดำเนินการในหลายมาตรการ ซึ่งในการประชุมคณะอนุกรรมการรณรงค์การสื่อสารความเท่าเทียมระหว่างเพศ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีการทำ MOU ระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างมาตรการร่วมกัน รวมถึงรณรงค์สร้างความตระหนักต่อสังคมให้มีความเข้าใจในประเด็นนี้

มีความตื่นตัว ไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรง ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมเป็นกลไกสำคัญที่เข้ามาทำงานด้วยกันพร้อมกับความตื่นตัวของ ประชาชนที่ไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรง และหวังว่าเวทีวันนี้จะสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งด้านรูปแบบความรุนแรง และข้อกฎหมาย ตลอดจนทัศนคติ เคารพให้เกียรติระหว่างเพศ ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจในการคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิสตรีและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และมีกลไกหน่วยงานในการช่วยเหลือ เยียวยา คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว สามารถโทรเข้ามาได้ที่ 1300

ซึ่งจากปัญหาข้างต้นได้สร้างความบอบช้ำต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก การกระทำความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในคู่รักถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ลุกลามไปสู่ลูกหลาน ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำมายาคติโดยเฉพาะการมองปัญหาเป็นเรื่องครอบครัวหรือเป็นเรื่องส่วนตัว

น.ส.อังคณา อินทะสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการรวบรวมข่าวความรุนแรงในครอบครัวในหน้าหนังสือพิมพ์พบเหตุการณ์เพิ่มขึ้นทุกปี เฉพาะข่าวฆ่ากันตายในคู่รัก สามี-ภรรยา สูงเป็นอันดับ 1 โดยปี 2563 มี 323 ข่าว หรือ 54.5% เป็นสามีกระทำต่อภรรยา 105 ข่าว หรือ 60 % คู่รักแบบแฟน 18 ข่าว หรือ 47.4 % ขณะที่ปี 2561 มี 384 ข่าว หรือ 61.6 % ปี 2559 มี 226 ข่าว หรือ 48.5 %ปี 2557 มี 230 ข่าว หรือ 62.5 % และปี 2555 มี 197 ข่าว หรือ 59.1 % เมื่อพิจารณาสาเหตุพบว่ามาจากหึงหวง ระแวงว่านอกใจ ตามง้อไม่สำเร็จ และจะพบว่าตอนก่อเหตุส่วนใหญ่เมาเหล้า เสพยา และความขัดแย้งเรื่องหนี้สิน ตามลำดับ และอาวุธที่ใช้ส่วนใหญ่คือปืน

สำหรับสาเหตุที่ผู้หญิงถูกคนรักฆาตกรรมเพิ่มขึ้นทุกปี มาจากปัจจัยโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม และค่านิยมที่คาดหวัง หล่อหลอมให้ผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว ผู้หญิงมีบทบาทด้อยกว่า ความไม่เสมอภาค, ทัศนคติมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว, นิสัยส่วนตัว, ครอบครัวเคยมีการใช้ความรุนแรง และสุรา ยาเสพติดเป็นปัจจัยกระตุ้น เพราะทำให้ขาดสติ นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยนไป สอดคล้องกับการศึกษาของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบคดีฆ่าหั่นศพตั้งแต่ปี 2534 ถึงปัจจุบัน (เฉพาะทราบชื่อ) จำนวน 10 ราย ผู้ก่อเหตุเป็นเพศชาย 7 ราย เพศหญิง 3 ราย ส่วนใหญ่ไม่ได้ป่วยโรคทางจิตเวช แต่กระทำเพื่อทำลายหลักฐานอำพรางคดี ส่วนที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชมี 3 รายทำเพราะอาการกำเริบ ไม่ได้รับประทานยาจิตเวชต่อเนื่อง ไม่ได้รักษา หรือมีการใช้สารเสพติด ดื่มสุรา

“การแก้ปัญหาต้องบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวให้มีประสิทธิภาพ เพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ลดการกระทำซ้ำ และมีมาตรการการแก้ไขเข้าถึง และครอบครองอาวุธปืนได้ยากขึ้น ควรให้ต่ออายุทุกๆสองหรือสามปีเพื่อการตรวจสอบบุคคลที่ครอบครอง ส่วนครอบครัว ชุมชน สังคมต้องสอดส่องให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ไม่มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว การจับสัญญาณอันตรายเหล่านี้ให้ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อสื่อสารขอความช่วยเหลือ ระงับเหตุ” น.ส.อังคณา กล่าว

ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาการทำร้าย หรือฆาตกรรมในครอบครัว ที่มีสามีหรือผู้ชายเป็นผู้ก่อเหตุ เกิดขึ้นในสังคมปิตาธิปไตย ที่ผู้ชายจะมองว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอกว่า เป็นสมบัติ เป็นตุ๊กตา หรือของสะสมที่จะเก็บ หรือจัดการอย่างไรก็ได้ เช่นกรณีชายฆ่าหั่นศพแฟนสาวที่เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อฟังจากการให้สัมภาษณ์ที่ระบุว่าตัวเองเป็นคนเลี้ยงดูผู้หญิงคนนี้มาตลอด แต่กลับไม่ยอมเปิดเผยสถานะให้สังคมรู้ เลยลงมือฆ่า ซึ่งทั้งที่จริงตัวผู้ชายคนนี้ก็มีคนรักอยู่แล้ว ตรงนี้ก็จะสะท้อนว่ามองผู้หญิงเป็นเหมือนตุ๊กตา เป็นของสะสม

ทั้งนี้แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาคือ

1.แยกคดีฆาตกรรมในครอบครัวออกจากคดีฆาตกรรมอื่น ถอดบทเรียนวิเคราะห์จะได้เห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่และแก้ไขปัญหา

2. เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์ชาย หญิง การเข้าสู่ความสัมพันธ์ ที่ต้องเคารพความเสมอภาค เคารพสิทธิเนื้อตัวของผู้อื่น และรู้จักการถอยออกจากความสัมพันธ์ด้วยความเคารพต่อกันและกัน ทั้งนี้หากทำตรงนี้ได้จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ เมื่อเติบโตขึ้น สามารถแยกแยะความสัมพันธ์ และสามารถกลั่นกรองสื่อต่าง ๆ ที่อยู่ในยุคหาสื่อดี ๆ ได้ยาก

นายเอ (นามสมมุติ) ผู้ที่เคยผิดพลาด และต้องชดใช้ด้วยการจองจำ กล่าวว่า ตนเกิดมาในครอบครัวคนมีสีพ่อแม่ทะเลาะ ทำร้ายร่างกายกันบ้าง แม้ไม่บ่อย แต่สุดท้ายก็แยกทางกัน ส่วนตัวรักสนุก เกเร คบเพื่อนที่มาจากครอบครัวบ้านแตกแยก ขี้โมโห อารมณ์ร้อน มีเรื่องชกต่อย พอมีแฟนก็คิดว่าเราต้องเป็นผู้นำ แฟนต้องยอม และเดินตามหลัง เมื่ออายุ 26 ปี ตนทำงานขายซีดีรายได้ประมาณเดือนละแสนบาท มีอำนาจมากในครอบครัว มีการทำร้ายร่างกาย จิตใจ นอกใจและคิดว่าแฟนต้องยอมรับเรื่องแบบนี้ให้ได้

จนกระทั่งคืนเกิดเหตุ ขณะที่นั่งกินเหล้าอยู่ที่บ้านเพื่อน แล้วแฟนก็โทรมาหลายครั้งให้กลับบ้านเพราะมีคนมาเก็บเงินค่าเก็บขยะ และเดินมาตามถึงวงเหล้า จึงรู้สึกเสียหน้า เพื่อนก็แซว พอกลับถึงบ้านจึงทะเลาะกัน ตนทำร้ายจนแฟนแน่นิ่งไป ไม่มีใครกล้าเข้ามาช่วย จนกระทั่งตนได้สติ รีบนำเธอส่งรพ.แต่สุดท้ายแฟนก็เสียชีวิต ถูกตัดสินให้ติดคุก 10 ปี ซึ่งผมสารภาพและยอมรับผิดทุกอย่างไม่มีการต่อสู้คดีแต่อย่างใด ยอมรับกรรมจากสิ่งที่ตัวเองทำ

สิ่งที่เกิดขึ้นตนเสียใจมากที่กินเหล้าแล้วโมโหร้าย ทำเกินกว่าเหตุ แม้ติดคุกก็ไม่สาสม จึงอยากให้ความผิดพลาดของตนเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อลดปัญหาลง ตอนนี้แม้สภาพจิตใจจะดีขึ้น แต่ตราบาปในใจไม่เคยหายไปไหน

ขณะที่ น.ส.บี (นามสมมติ) ผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากคนรัก กล่าวว่าตอนวัยรุ่นเรียนพาณิชย์ปี 1 มีแฟนที่ค่อนข้างเกเร พอคบได้ประมาณ 1 ปี เริ่มหึงหวง ไปไหนก็จะคอยตามตลอดเวลาจนรู้สึกอึดอัด พยายามบอกเลิก แต่ฝ่ายชายก็พยายามตามมาเจอ มาเฝ้าหน้าโรงเรียน ตนรำคาญจึงบอกว่ามีแฟนใหม่แล้ว คาดว่าสร้างแค้นเคืองไว้จึงสะกดรอยตามตนเองกว่า 3 เดือน กระทั่งวันหนึ่ง ตนกับเพื่อนไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ ระหว่างเดินกลับบ้านผู้ชายคนนี้ก็มาดัก และสาดน้ำกรดใส่ ต้องเข้ารักษาตัวที่รพ.หลายเดือน โดยมีพี่สาวและแม่ คอยดูแลให้กำลังใจ ส่วนผู้ก่อเหตุหลบหนีไปจนคดีสิ้นสุด 20 ปี ไม่รู้ข่าวเขาอีกเลย

ในขณะที่ตนต้องอยู่กับความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ เก็บตัว และทำร้ายตัวเอง โชคดีที่มีแม่ และพี่น้องคอยประคับประคอง ได้คุยกับเพื่อนที่ประสบชะตากรรมแบบเดียวกัน ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ กับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จนเริ่มเปิดใจ และเริ่มทำงาน จนถึงวันนี้ผ่านมา 49 ปีตนเข้มแข็งและสามารถให้การช่วยเหลือ และบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองได้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ถูกกระทำความรุนแรงคนอื่นๆ ให้ลุกขึ้นจัดการปัญหาของตนเอง

< รับชมถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ที่นี่ >

......

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://www.thailandplus.tv/archives/619343

https://bangkokstyle.online

https://prachatai.com/journal/2022/10/100902

https://mgronline.com/politics/detail/9650000097156

https://www.nationtv.tv/news/social/378889140

https://www.prnewsfocus.com/post/101065

https://thailandinsidenew.com/2022/10/10/6754454/

https://thenews24online.com/v/405

https://www.bizthaipost.com/2022/10/blog-post_10.html?m=1

http://www.thinsiam.com/archives/169972

https://workpointtoday.com/

https://hotspotstation111.com/archives/34491

https://www.lokwannee.com/web2013/?p=440048

https://www.ebiznewstoday.com/?p=19161

http://thainewsbiz.com/archives/16239

https://siamrath.co.th/n/389771

https://www.youtube.com/watch?v=M6b42K47_fw

https://www.naewna.com/likesara/685682

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2523778

https://www.bangkokbiznews.com/health/education/1031868?

ttps://ch3plus.com/news/social/ch3onlinenews/314901

ถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊กเพจ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 10.20 น.


บทความที่เกี่ยวข้อง
เรียนรู้ 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ YSL Beauty จัดเวิร์คช็อป เรียนรู้ 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รัก ภายใต้โครงการ Abuse is Not Love โดย YSL Beauty เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 โดยในครั้งนี้เป็นการเวิร์คช็อปร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่อาคารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
17 ธ.ค. 2024
ขอแสดงความยินดีกับ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ &quot;บุคคลที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2567&quot;
ขอแสดงความยินดีกับ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "บุคคลที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2567" จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ที่ สยามสแควร์วัน
17 ธ.ค. 2024
เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกระทรวงพม. เพื่อยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและในคู่รัก
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว และแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชนรถปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายชุมชน วัดสวัสดิ์วารี เครือข่ายชุมชนซอยพระเจน กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกระทรวงพม. เพื่อยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและในคู่รัก
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy