แชร์

Museum of first time คว้า 6 รางวัล จากเวที ADMAN AWARDS 2022

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
474 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่ข่าวสาร เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566)

Adman Awards (แอดแมน อวอร์ส) เป็นการประกวดผลงานทางด้านการสื่อสารการตลาด ที่จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 โดยสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ อุตสาหกรรม มีส่วนร่วมในการสนับสนุน ส่งเสริมยกย่องและให้กำลังใจ แก่องค์กร บุคลากรและผลงานที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อจรรยาวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้ประชาชน องค์กรธุรกิจและสังคมเกิดการยอมรับ และเห็นถึง บทบาท ความสำคัญของการสื่อสารการตลาด

โดยการประกาศรางวัล ADMAN AWARDS ประจำปี 2022 พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง Museum of first time ที่นำเสนอเรื่องราวของความรุนแรงในครอบครัวที่มาจากทัศนคติชายเป็นใหญ่และปัจจัยกระตุ้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้แนวคิด “ความรุนแรงในบ้าน ให้มันจบที่ครั้งแรก” ที่สร้างสรรค์โดย บริษัท วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และ สสส. ได้ผ่านเข้ารอบ Finalist 8 ประเภท และคว้ามาได้ถึง 6 รางวัล โดยรางวัลที่ได้รับได้แก่

ระดับ Gold จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

- รางวัล UX design (การออกแบบประสบการณ์ใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจสูงสุด)
ระดับ Silver จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
- รางวัล INNOVATIVE USE OF TECHNOLOGY IN CRAFT (การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในงานฝีมือ)

ระดับ Bronze จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

- รางวัล CRAFT (งานฝีมือ)
- รางวัล Use of digital platform (การใช้แพลตฟอร์มดิจิตอลต่าง ๆ
- รางวัล HEALTH AND WELL-BEING (สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี)
- รางวัล CORPORATE PURPOSE AND SOCIAL RESPONSIBILITY/CORPORATE IMAGE/NOT-FOR-PROFIT/CHARITY/GOVERNMENT (วัตถุประสงค์ขององค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพลักษณ์องค์กร การไม่แสวงหากำไร การกุศล รัฐบาล)

และเข้ารอบ Finalist อีก 2 ประเภท ได้แก่

- ประเภท SCRIPT WRITING (การเขียนบท สคริปต์)
- ประเภท INNOVATIVE USE OF AUDIO CODE TITLE (นวัตกรรมด้านเสียง)

Museum of first time มีที่มาจากความร่วมมือของ บริษัท วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย (Wunderman Thompson Thailand) ซึ่งเป็นเอเจนซี่แถวหน้าของเมืองไทย และเคยร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล รณรงค์เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว ในปี 2560 ซึ่งครั้งนั้นมีการรณรงค์และผลิตคลิปโฆษณา ภายใต้แนวคิด “บ้านไม่ใช่เวทีมวย #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง” (ขณะนั้นใช้ชื่อ บริษัท เจ.วอลเตอร์ธอมสัน ประเทศไทย/JWT.) โดยในโอกาสการรณรงค์เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว ปี 2564 มีการประชุมพูดคุยร่วมกันถึงสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว โดยพบว่าสถิติการทำร้ายร่างกายภายในบ้านเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งยังพบว่าความรุนแรงในครอบครัวมักจะไม่จบที่ครั้งแรก และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนบางรายถึงขั้นเสียชีวิต ในขณะที่ปัจจัยสำคัญคือทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำมาสู่การเคาะหาไอเดียจนเกิดเป็นแคมเปญ "ความรุนแรงในบ้าน #ให้มันจบที่ครั้งแรก" และร่วมกันออกแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual museum) โดยนำเรื่องราวของ “คุณแอร์” ผู้หญิงที่เคยได้รับความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายชายดื่มเครื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มานำเสนอผ่านเว็บไซต์ที่ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสประสบการณ์เสมือนอยู่ในสถานที่จริง ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเหตุการณ์ “ครั้งแรก” ที่เกิดขึ้นภายในบ้านหลังนี้

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ขอขอบคุณ บริษัท วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ไอเดียรณรงค์รูปแบบใหม่ ๆ และทำงานร่วมกันอย่างเข้าใจเสมอมา, มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), คุณแอร์ คนต้นเรื่องที่นำมาสู่เรื่องราวใน Museum of first time, ขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้ Museum of first time ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และขอขอบคุณสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ที่มอบรางวัลนี้

ท่านใดที่สนใจ สามารถรับชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง Museum of first time ได้ที่เว็บไซต์ www.museumof1sttime.com



บทความที่เกี่ยวข้อง
เรียนรู้ 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ YSL Beauty จัดเวิร์คช็อป เรียนรู้ 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รัก ภายใต้โครงการ Abuse is Not Love โดย YSL Beauty เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 โดยในครั้งนี้เป็นการเวิร์คช็อปร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่อาคารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
17 ธ.ค. 2024
ขอแสดงความยินดีกับ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "บุคคลที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2567"
ขอแสดงความยินดีกับ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "บุคคลที่สนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี พ.ศ. 2567" จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ที่ สยามสแควร์วัน
17 ธ.ค. 2024
เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกระทรวงพม. เพื่อยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและในคู่รัก
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว และแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชนรถปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายชุมชน วัดสวัสดิ์วารี เครือข่ายชุมชนซอยพระเจน กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกระทรวงพม. เพื่อยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและในคู่รัก
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy