แชร์

คำสอนที่ผลิตซ้ำ ระบบชายเป็นใหญ่

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
6404 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563)

ชายเป็นใหญ่ คือ ระบบคิดที่ถูกสร้างขึ้นโดยกำหนดให้สถานภาพ ตำแหน่งของเพศชายเหนือเพศหญิง และให้คุณค่าความเป็นชายมากกว่าความเป็นหญิง เครื่องมือสำคัญที่ดำรงอยู่และถ่ายทอด คือ ระบบความเป็นเพศ ที่หล่อหลอมบทบาทหน้าที่ อำนาจ สถานภาพ คุณค่า ความสัมพันธ์ทางเพศที่แตกต่างและไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย รวมถึงร่างกายของเพศหญิงและร่างกายของเพศชายโดยส่งผ่านสถาบันต่าง ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา ระบบการศึกษา สื่อมวลชน สื่อพื้นบ้าน ศิลปะ งานบันเทิง โฆษณา ระบบการเมืองการปกครอง เป็นต้น ที่ทำหน้าที่ฝึกฝน กล่อมเกลาให้หญิงและชายอย่างสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ระบบเพศทำการผลิตซ้ำ หนุนเสริมให้ระบบคิดชายเป็นใหญ่มีความมั่นคงแข็งแกร่ง จนทำให้คนทั่วไปมองเห็นว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ระบบคิดชายเป็นใหญ่ เป็นสาเหตุของการกดขี่รูปแบบต่าง ๆ ในสังคม เช่น การกดขี่ทางชนชั้น สีผิว ชาติพันธุ์ เพศทางเลือก เป็นต้น เพราะเพศชายถูกหล่อหลอมให้เรียนรู้ที่จะครอบงำ ควบคุม แสวงหาประโยชน์ ไม่ไว้ใจ ไม่รับฟังความคิดเห็น ไม่เคารพเพศหญิงที่เป็นภรรยา แม่ พี่สาว หรือลูกสาวของตนเอง จึงเป็นการง่ายที่เขาจะพยายามควบคุมและแสวงหาผลประโยชน์จากเพศหญิงคนอื่น ๆ ที่มีแหล่งอำนาจด้อยกว่า

ระบบคิดชายเป็นใหญ่ยังหล่อหลอมผู้หญิงจำนวนมากให้ยอมรับ สยบยอมกับการถูกควบคุม ครอบครอง และเชื่อว่าความเป็นเพศหญิงมีค่าด้อยกว่าเพศชาย

ความเป็นเพศ (gender) จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ผลิตซ้ำ สืบทอดต่อกันมาโดยผ่านสถาบันต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น รวมถึงผลิตซ้ำผ่านคำบอกคำสอนในครอบครัว สังคม สุภาษิต คำพังเผย เช่น

คำสอนผู้หญิง

  • ภรรยาเป็นสมบัติของสามี
  • ต้องเป็นแม่บ้าน ทำงานบ้าน เลี้ยงลูก
  • ภรรยาที่ดีต้องเชื่อฟังสามี ห้ามทำตัวเหนือกว่า
  • เป็นผู้หญิงไม่ควรพูดหรือแสดงออกเรื่องเพศ
  • ผู้หญิงที่ดื่มเหล้า เที่ยวกลางคืน จะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี
  • มีลูกผู้หญิงเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน
คำสอนผู้ชาย
  • ผู้ชายต้องเป็นผู้นำ เด็ดขาด ทำงานเลี้ยงดูครอบครัว
  • ผู้ชายต้องเข้มแข็ง ห้ามร้องไห้ ห้ามอ่อนแอ
  • แสดงออกเรื่องเพศได้อย่างอิสระ
  • ดื่มเหล้า เคล้านารี เจ้าชู้ ใช้กำลังเป็นเรื่องปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy