แชร์

ผู้ชายทำงานบ้านไม่ควรถูกมองเป็นเรื่องตลก ควรเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำได้

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
115 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 5 สิงหาคม 2563)

มุขตลกที่คุยกันในวงเพื่อน หรือแม้แต่การวางบทบาทของตัวละครผ่านสื่อ ที่ทำให้ผู้ชายที่ทำงานบ้านถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “คนกลัวเมีย” หากมองเพียงผิวเผินอาจจะเข้าใจว่าเป็นการหยอกเย้ากันเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ภาพจำเหล่านี้กลับยิ่งตอกย้ำให้รู้สึกว่าผู้ที่ชายทำงานบ้านเป็นเรื่องน่าอาย ไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรทำ หรืออาจจะหนักถึงขั้นรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ไร้ซึ่งอำนาจ

อันที่จริงเมื่อเอ่ยถึง “งานบ้าน” เราจะเข้าใจโดยอัตโนมัติว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิง เพราะสังคม วัฒนธรรมของไทยถูกกำหนดด้วยภาพจำที่ชินตามาหลายช่วงอายุคนว่าผู้ชายจะต้องเป็นผู้นำ เข้มแข็ง ทำงานนอกบ้าน หาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงจะต้องเรียบร้อยอ่อนโยน เลี้ยงลูก ปรนนิบัติสามี ดูแลความเรียบร้อยในบ้าน แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงสังคมมีการยอมรับและเข้าใจเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น จึงทำให้เราได้เห็นภาพผู้ชายเลี้ยงลูกหรือช่วยทำงานบ้าน แบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังคงมีความคิดความเชื่อเดิม ๆ หลงเหลืออยู่ เส้นแบ่งความเป็นเพศ (Gender) ทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ ที่สอนว่าผู้ชายต้องมีอำนาจเหนือ การทำงานบ้านเป็นงานที่ไม่มีมูลค่าจึงไม่ใช่งานที่ผู้ชายจะทำได้อย่างมีศักดิ์ศรี การล้อเลียน และทำให้ดูเป็นเรื่องตลกจึงยังคงเกิดขึ้น

จากผลสำรวจความคิดเห็นต่อการทำงานบ้านของกลุ่มผู้ชาย อายุ 18-50 ปี จำนวน 1,995 ตัวอย่าง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่า ผู้ชาย 33.2% มีความเชื่อที่ว่า งานบ้านเป็นหน้าที่ผู้หญิง โดย 53.5% มองว่าผู้หญิงที่ดีต้องทำงานบ้าน เป็นแม่ศรีเรือน อย่าให้บกพร่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้ชายกว่า 73.3% มองว่าถึงเวลาเปลี่ยนแปลงให้งานบ้านเป็นงานของทุกคน และสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย

นอกจากนี้จากการทำโฟกัสกรุ๊ปผู้ชายอายุ 18-90 ปี จากพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 18 คน พบว่าผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะถูกเพื่อนล้อว่ากลัวเมีย หากต้องทำงานบ้าน และยังมีความเชื่อว่างานบ้านต้องเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเท่านั้น แต่ก็มีปากเสียงกันในครอบครัวจากการที่ปล่อยให้ภาระหน้าที่ในบ้านเป็นของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียวเช่นกัน ในขณะที่ผู้ชายอายุน้อยกว่า 30 ปี เรียนรู้การแบ่งบทบาทหน้าที่ชายหญิงมาจากแบบเรียน ตัวอย่างจากครอบครัว ทำให้ยังคงคิดว่างานบ้านเป็นของผู้หญิง แต่ก็สามารถช่วยเหลือกันได้ ในขณะที่เรื่องของการโดนล้อ แซวกันในกลุ่มเพื่อนฝูงว่ากลัวเมีย ก็ยังคงเกิดขึ้น และสร้างความอับอายอยู่บ้าง

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของคนในสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญ การทำงานบ้านต้องไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่ใช่เรื่องตลก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องแซวกันให้เกิดความอับอาย งานบ้านต้องเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำได้ โดยไม่มีเส้นแบ่งความเป็นเพศ บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ควรจะหยิบมาเป็นประเด็น แต่อย่าลืมว่าสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะสร้างเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศ ลดอำนาจชายเป็นใหญ่และเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดความรุนแรงในครอบครัวได้


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy