แชร์

เมื่อเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ตัว

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
4607 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 25 มิถุนายน 2563)

จากปัญหาการข่มขืนผู้หญิงที่พบเห็นในข่าว และสถิติที่มูลนิธิฯ ได้รวบรวมจากผู้ที่มาร้องเรียน ทำให้เห็นว่าการข่มขืนส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อเลี้ยงซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุมากที่สุด รองลงมาคือญาติผู้ใหญ่ เช่น ลุง น้า อา ตาหรือปู่ และพบว่าผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจะมีอายุประมาณ 10 – 20 ปี มากที่สุด รองลงมาคือ อายุต่ำกว่า 10 ขวบ โดยถูกกระทำมานานกว่า 1-2 ปี ซึ่งโดยทั่วไปเด็กจะไม่ยอมออกมาพูด แม้ว่าจะถูกกระทำมาแล้วเป็นระยะเวลานาน ทั้งจากการข่มขู่และใช้อำนาจบังคับไม่ให้พูด เมื่อเด็กไม่ออกมาพูดผู้กระทำความผิดจึงเกิดความย่ามใจที่จะกระทำความผิดต่อผู้อื่นยิ่งขึ้น ส่งผลให้กระทำบ่อยขึ้นจาก 1 ปี เป็น 2 ปี จนกระทั่งเริ่มมีคนสังเกตเห็น

เหตุใดจึงเกิดขึ้นกับเด็ก

สิ่งที่เป็นรากเหง้าของปัญหาในสังคมไทยนั้น จะพบว่ามีการใช้อำนาจที่เหนือกว่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้เป็นพ่อจะรู้สึกว่าเลี้ยงดูมา ลูกต้องกตัญญู พ่อให้ทำอะไรก็ต้องฟัง หรือผู้ชายจะถูกปลูกฝังแนวคิดชายเป็นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแข็งแกร่ง สามารถเลี้ยงดูและคุ้มครองครอบครัวได้ เมื่อมีความความต้องการทางเพศ ก็รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเก็บไว้

บางที “สื่อ” มีการนำเสนอจนดูเป็นเรื่องปกติไป แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องแบบนี้ควรตั้งคำถามกับสังคมมากขึ้นให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหาที่ยังมีอยู่

เป็นเรื่องยากที่เด็กจะออกมาร้องเรียนและลุกขึ้นมาพูด มากกว่าคนที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีอำนาจน้อย ผู้กระทำมีอำนาจมากกว่า เราจะเห็นว่าเมื่อเด็กไม่พูด หรือไม่กล้าพูด เด็กจึงถูกกระทำอย่างยาวนาน จนกระทั่งมีคนสังเกตเห็น มีหลักฐานปรากฏ จากตัวอย่างกรณีที่เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เป็นพี่สาวที่ออกมาช่วยเหลือเด็ก ภายหลังได้ถูกข่มขู่จากญาติผู้ใหญ่ ยิ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าเด็กไม่มีอำนาจมากพอที่จะลุกขึ้นมาพูดได้เลย

การแก้ปัญหา

  1. ต้องปลูกฝังให้เด็กรู้ว่าเนื้อตัว ร่างกาย เป็นเรื่องที่สำคัญ ร่างกายบางส่วนแตะต้องไม่ได้ เช่น ก้น หน้าอก อวัยวะเพศ ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิ์ ครอบครัวหรือในโรงเรียนเองก็ต้องสอนเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นเด็กจะไม่กล้าป้องกันตัว ไม่กล้าบอกคนอื่น และไม่มีทางรู้เลยว่าผู้ใหญ่กำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งกรณีแบบนี้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดยที่เด็กเองก็ไม่รู้ว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  2. เราจะพบว่าเด็กถูกข่มขืนจากคนใกล้ตัว เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่อยู่ใกล้ชิด จะต้องเอาใจใส่ คอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี โดยสังเกตพฤติกรรม สีหน้า แววตา และอาการซึมเศร้าของเด็ก
  3. กฎหมายคุ้มครองเด็ก ที่มีกลไกตั้งแต่ระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขานุการในทุก ๆ จังหวัด จะต้องมีกลไกการทำงานมากกว่านี้ ไม่ควรนิ่งเฉย ถ้าไม่มีกลไกการทำงานคอยเฝ้าระวัง ก็จะทำให้เข้าถึงตัวผู้กระทำได้ลำบาก จะอาศัยคนใกล้ตัวเด็กอย่างเดียวคงไม่พอ การลงไปเยี่ยม พบปะกับคนในชุมชน ก็อาจจะทำให้คนที่คิดจะกระทำรู้ว่ามีคนเฝ้าดูอยู่ การข่มขืนจึงเป็นเรื่องยาก
  4. เอาผิดและจริงจังกับคนที่กระทำผิดมากขึ้น เราจะเห็นว่าในหลายกรณีที่เกิดขึ้นมักจะมีการไกล่เกลี่ยและยอมความกันไป โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะต้องไกล่เกลี่ยไม่ได้ เป็นกฎหมายอาญา ดังนั้นตำรวจต้องทำหน้าที่ให้เข้มข้นมากกว่านี้

การข่มขืนได้ทิ้งรอยแผลทั้งทางกายภาพและสภาพจิตใจกับผู้ถูกกระทำอย่างรุนแรง และยังเป็นการทำลายตัวตนความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงโดยการข่มขืนมีความเสี่ยงสูงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะในวัยรุ่นอาจนำไปสู่การมีครอบครัวทั้งที่ยังไม่พร้อม ที่สำคัญเราจะวนเวียนอยู่กับปัญหานี้ไม่มีที่สิ้นสุด หากยังไม่แก้ไขกันอย่างจริงจัง

จะเด็จ เชาวน์วิไล
ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy