แชร์

เช็คกรอบความเป็นหญิง ความเป็นชาย

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
2814 ผู้เข้าชม
เช็คกรอบความเป็นหญิง ความเป็นชาย

(เผยแพร่บทความเมื่อ 13 มิถุนายน 2566)

ความเป็นหญิงความเป็นชายถูกบ่มเพาะทางสังคมผ่านสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ระบบทางการเมือง หญิง ชาย ถูกแบ่งกรอบชัดเจนแบบตรงกันข้าม ผู้ชายต้องเป็นผู้นำ ทำงานหาเงิน มีอำนาจ มีความสามารถในการตัดสินใจ เข้มแข็ง ฯลฯ ในขณะที่ผู้หญิงมีความอ่อนแอ ชอบอะไรอ่อนหวาน ทำงานบ้าน ดูแลลูก ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องสำคัญได้ ฯลฯ เรื่องของเพศวิถีก็แทบจะเป็นสูตรสำเร็จ ผู้ชายต้องเป็นฝ่ายควบคุม มีอิสระทางเพศ ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว จะแสดงออกทางเพศไม่ได้ ทั้งหมดล้วนตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคทางเพศอย่างชัดเจน และปลูกฝังมากับคนไทยผ่านโครงสร้างทางสังคมที่ยกผู้ชายเหนือกว่าผู้หญิงเสมอมา

ในยุคที่สังคมเปลี่ยนผ่าน คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น ความเป็นชายไม่ได้ถูกยกมาให้คุณค่าเท่าในอดีต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากรอบความเป็นหญิงความเป็นชายจะจางหายไปซะทีเดียว

วันนี้เราขอชวนทุกคนมาทบทวนกรอบความเป็นหญิงความเป็นชาย จากข้อความในภาพทั้งสองฝั่ง มีข้อไหนที่ตรงกับความคิด ทัศนคติ หรือความเชื่อของตัวเองบ้างหรือไม่

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะติดกรอบเหล่านี้ แม้ว่าจะเพียงหนึ่งหรือสองข้อ เพราะนี่คือความคิด ความเชื่อ บรรทัดฐานของสังคมที่ฝังรากลึกมายาวนาน ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่เราจะเปลี่ยนแปลงและทำความเข้าใจใหม่ ผู้ชายบางคนไม่กล้าร้องไห้ เพราะกลัวถูกมองว่าอ่อนแอ ต้องเข้มแข็ง และแสดงออกเชิงอำนาจ บางคนใช้อำนาจกดทับผู้หญิง รวมไปถึงการใช้ความรุนแรง เพราะเข้าใจว่าการแสดงออกแบบนี้คือเรื่องที่ถูกต้องตามแบบฉบับเพศของตัวเอง เหล่านี้คือความเป็นเพศที่เป็นพิษ ผู้หญิงเองก็ถูกคาดหวังมากเกินไป ต้องดูแลลูก ดูแลสามี ต้องทำงานบ้านอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ผู้ชายก็กลายเป็นกดดันตัวเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

การจะก้าวไปสู่สังคมที่มีความเท่าเทียมทางเพศ และลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สิ่งแรกที่เราจะทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงได้ คือการไม่ติดกรอบความเป็นหญิงความเป็นชาย ไม่ส่งต่ออำนาจชายเป็นใหญ่ ทุกเพศสามารถทำในสิ่งเดียวกันได้ เราทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำตามบรรทัดฐานที่สังคมเคยสร้างไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 ก.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy