แชร์

ต่อให้โรงเรียนมีห้องให้คำปรึกษา แต่หากครูมีทัศนคติ “เบลมเหยื่อ” ห้องให้คำปรึกษานั้นก็ไร้ประโยชน์

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
602 ผู้เข้าชม
ต่อให้โรงเรียนมีห้องให้คำปรึกษา แต่หากครูมีทัศนคติ “เบลมเหยื่อ” ห้องให้คำปรึกษานั้นก็ไร้ประโยชน์

จากคดีครูล่วงละเมิดทางเพศ นักเรียน 3 คนที่จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี 2563 ล่าสุด 8 ธันวาคม 2566 ศาลจังหวัดมุกดาหารได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตครู 4 คน และครูผู้ช่วยที่เป็นรุ่นพี่อีก 2 คน สั่งชดเชยค่าเสียหายเกือบ 3 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นการคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อผู้ถูกกระทำ แต่ระหว่างทางนั้นเราจะเห็นปัญหาที่เป็นการด้อยค่าเหยื่อ ยกย่องผู้มีอำนาจของสังคมไทย ชาวบ้านจำนวนหนึ่งไม่เชื่อว่าครูจะทำแบบนั้นได้ ครูบางคนออกมาเข้าข้างผู้กระทำ และตั้งคำถามกับเด็ก ซึ่งปรากฎการณ์นี้ไม่เพียงเกิดขึ้นกับกรณีเท่านั้น แต่เกิดขึ้นแทบทุกครั้งเมื่อมีเหยื่อออกมาเปิดเผย เรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อผู้กระทำมีอำนาจมากกว่าหรือมีหน้าตาในสังคม

การเบลมเหยื่อ (Blame) หรือการกล่าวโทษผู้ถูกกระทำ จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ เด็กหรือผู้ถูกกระทำไม่กล้าออกมาขอความช่วยเหลือ ไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง เพราะกลัวการถูกตั้งคำถาม การกล่าวโทษ การด้อยค่า

ในระดับโรงเรียนแม้จะมีห้องให้คำปรึกษา แต่เด็กกลับไม่กล้า หรือไม่สบายใจที่จะใช้บริการ เพราะกลัวทัศนคติ การเบลมเหยื่อของครู

ป้ามล หรือคุณทิชา ณ นคร ที่ปรึกษามูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว กล่าวว่า แม้โรงเรียนจะมีห้องที่ติดป้ายไว้อย่างสวยงามว่า ห้องนี้ให้คำปรึกษา เด็กทุกคนจะปลอดภัยถ้ามาขอคำปรึกษาในห้องนี้ ต่อให้มีผู้หลักผู้ใหญ่ มีรัฐมนตรีมาเปิด หรือมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่หน้าห้อง แต่หากทัศนคติการเบลมเหยื่อของครูยัง 100 เปอร์เซ็นต์อยู่ รับรองว่าห้องนั้นจะเป็นห้องร้าง เด็ก ๆ จะไม่มีทางเดินไปขอคำปรึกษาที่ห้องนั้นแน่นอน

ทัศนคติของครูเป็นเรื่องสำคัญมากในการแก้ไขปัญหา และเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก งานที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ใช่แค่การสร้างพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ แต่ต้องทำให้ทัศนคติของคนเป็นครูเปลี่ยน หลายคนอาจตั้งคำถามว่า หากเป็นเช่นนี้ เด็กบอกอะไรก็เชื่อหมดสิ แต่ความจริงคือเราสามารถแสวงหาข้อเท็จจริงได้ โดยที่เราไม่ต้องเกรี้ยวการใส่เด็ก เมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัย ความจริงจะค่อย ๆ ไหลออกมา

ป้ามลกล่าวต่อว่าต้องมีการจัดการชุดความคิด การเบลมเหยื่อ ของครูอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่การสั่งการ แต่ต้องทำให้ครูเข้าใจ มีความละเอียดอ่อนในการให้คำปรึกษา ซึ่งนี่คือภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการที่จะทำให้กลุ่มคนที่ทำงานใกล้ชิดกับเด็กโดยเฉพาะครูในโรงเรียนเป็นปฏิบัติการที่เป็นจริง

ที่มา : เรียบเรียงจากงานเสวนา "ทางออกเพื่อโรงเรียนปลอดภัย ยุติปัญหาครูล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน" วันที่ 15 มกราคม 2567

< รับชมถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ที่นี่ >
......

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 ก.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy