แชร์

มองให้ลึก ผู้หญิงที่ถูกสังคมเรียกว่า "แม่ใจยักษ์"

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
122 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 3 ตุลาคม 2562)

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ภายหลังการคลอด ผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพ เกิดอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อารมณ์อ่อนไหว หงุดหงิด ร้องไห้ง่าย มีปัญหาในการสร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก นำไปสู่การทำร้ายลูก หรือทำร้ายตัวเองได้

ความเครียดจากการต้องเลี้ยงลูกคนเดียวและระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ที่สอนว่าการเลี้ยงลูกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง

ผู้หญิงหลายคนเกิดความเครียดเมื่อต้องแบกรับภาระในการเลี้ยงลูกเพียงลำพัง โดยเฉพาะกับแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก การไม่รู้ว่าจะรับมือกับปัญหาต่างๆ อย่างไร อีกทั้งผู้ชายมักคิดว่าการเลี้ยงลูกเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเท่านั้น ความคิดแบบชายเป็นใหญ่ที่ปลูกฝังกันมาว่าผู้ชายต้องทำงาน หาเงิน ส่งผลให้ผู้หญิงต้องแบกรับหน้าที่การเลี้ยงลูกเพียงลำพัง ยังไม่รวมถึงหน้าที่อื่นๆ ภายในบ้าน เมื่อผู้หญิงเกิดความเครียด อยู่ในภาวะกดดันก็อาจไปสู่การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายลูก ได้เช่นกัน

ความคาดหวังของสังคม คนรอบข้าง

สังคมมักคาดหวังว่าผู้หญิงต้องมีจิตสำนึกของความเป็นแม่ ต้องเลี้ยงลูกได้ด้วยตัวเอง แต่หากทำไม่ได้ก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี เลี้ยงลูกไม่ได้ รวมไปถึงคาดหวังว่าผู้หญิงจะต้องรักนวลสงวนตัว ห้ามท้องก่อนแต่ง มิเช่นนั้นจะถูกสังคมประนาม ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมจึงเกิดความอับอาย หาทางออกด้วยการทำร้ายลูกในที่สุด

ปัญหาการเงิน รายได้ไม่เพียงพอ

ปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัว ก็ส่งผลต่อผู้หญิงเช่นกัน ภาวะความเครียดจากการเลี้ยงลูกประกอบกับปัญหาการเงิน หลายครอบครัวไม่ได้เตรียมความพร้อม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังคลอดจึงมากเกินกำลัง

ขาดที่พึ่ง ที่ปรึกษา คนในครอบครัวไม่เข้าใจ

เมื่อเกิดปัญหาจากการเลี้ยงลูก หรือการท้องไม่พร้อม คนใกล้ตัวมีส่วนสำคัญมากในการให้กำลังใจและให้คำแนะนำ แต่บางครอบครัวกลับกล่าวโทษ บั่นทอนกำลังใจของผู้เป็นแม่ อีกทั้งการเข้าถึงหน่วยงานภาครัฐเพื่อขอความช่วยเหลือก็เป็นเรื่องยาก

เมื่อปัญหารุมเร้า การถูกทิ้งให้เลี้ยงลูกเพียงลำพัง ประกอบกับความไม่เข้าใจของสังคม ยิ่งทำให้ผู้เป็นแม่มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาด ทำร้ายลูก ทำร้ายตัวเอง เกิดคำเรียกของสังคมที่รุมประนามว่า "แม่ใจยักษ์" ทั้งที่จริงแล้วเราไม่เคยมองเลยว่า ปัญหาลึกๆ และภาวะต่างๆ ที่ผู้เป็นแม่ต้องเผชิญคืออะไร


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy