แชร์

เหตุผลที่ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะจำยอมต่อความรุนแรงในครอบครัว

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
115 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 22 ตุลาคม 2562)

คนทั่วไปอาจจะคิดว่าการออกจากสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับผู้หญิงที่มาขอปรึกษาจากมูลนิธินั้นมีความต่างอย่างสิ้นเชิง ผู้หญิงหลายคนตกอยู่ในภาวะจำยอมจนถึงที่สุด เผชิญความกลัว ความกดดันมากมาย

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะจำยอมต่อความรุนแรงในครอบครัวจากการรวบรวมของมูลนิธิ มีดังนี้

ความรักและผูกพัน หวังว่าผู้ชายจะเปลี่ยนได้

ทุกครั้งที่สถานการณ์ความรุนแรงคลี่คลาย ผู้ชายมักจะบอกกับผู้หญิงว่าจะกลับตัว ไม่ใช้ความรุนแรงอีก ขอให้เห็นแก่ความสัมพันธ์ที่ผู้ชายเคยทำดีมาก่อน ทำให้ผู้หญิงมีความหวัง คิดว่าผู้ชายจะปรับตัว ประกอบกับความรักความผูกพัน ทำให้ยอมที่จะทนอยู่ต่อไป

อดทนเพื่อลูก กลัวลูกมีปมด้อย

เมื่อมีครอบครัว มีลูก ผู้หญิงมักจะคิดว่าถ้าไม่มีพ่อ ลูกจะมีปมด้อย ขาดความอบอุ่น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคต รวมถึงหากปรึกษาพ่อแม่ พ่อแม่ก็มักจะบอกให้แก้ไขปัญหาโดยการอดทน อดทนเพื่อลูก

พยายามรักษาความเป็นครอบครัว

ตั้งแต่อดีตผู้หญิงมักถูกสอนให้ดูแล ปรนนิบัติสามี หากเลิกราจากสามี กลายเป็นหม้ายจะถูกสังคมมองไม่ดี เป็นผู้หญิงที่ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ อีกทั้งการปลูกฝังความเป็นครอบครัวในอุดมคติ ที่จะต้องประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ยิ่งทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะจำยอมต่อความรุนแรงต่อไป

คิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว

เมื่อเกิดปัญหาต้องอดทนไว้ ตามค่านิยมไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ทำให้ผู้หญิงอดทนไม่ยอมบอกใครถ้าไม่ถึงที่สุด

ปัญหาเศรษฐกิจ กลัวเลิกกันแล้วไม่มีงาน ไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเอง เลี้ยงดูลูก

ผู้หญิงหลายคนเมื่อแต่งงานแล้ว ลาออกจากงานเพราะสามีอยากให้ดูแลลูก ทำงานบ้าน แต่เมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว อยากเลิก แต่ไม่มีงานทำ ไม่มีเงินสำรอง ทำให้ไม่กล้าเลิกกับสามี เพราะกลัวจะไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเอง เลี้ยงดูลูก

ดังนั้นกว่าที่ผู้หญิงจะออกจากสถานการณ์นี้ได้ต้องใช้เวลานาน ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างที่เราเข้าใจ บางคนใช้เวลาหลายสิบปี ถึงจะกล้ามาขอคำปรึกษาจากมูลนิธิ หรือหน่วยงานต่าง ๆ

สังคมจึงควรเข้าใจและคอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ไม่มองปัญหานี้เป็นเรื่องส่วนตัว หรือตัดสินว่าผู้หญิงไม่ยอมออกจากปัญหานี้หรอก ไม่นานก็กลับไปหาสามีหรือคู่รักอีก

หากพบเห็นปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ควรแจ้งหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้าไปช่วยเหลือ หน่วยงานรัฐก็ควรทำงานงานเขิงรุก มีหน่วยเฝ้าระวังในชุมชนต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ทันสถานการณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy