แชร์

สามีข่มขืนภรรยา ผิดกฎหมาย

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
128 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 14 เมษายน 2563)

บางคนอาจตั้งคำถามว่าจะมีได้อย่างไร สามีที่ข่มขืนภรรยา อยู่กินด้วยกัน มีเพศสัมพันธ์กันคงไม่เรียกว่าการข่มขืน จากการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลต้องบอกเลยว่าไม่ใช่ทุกคู่ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ผู้หญิงหลายคนถูกสามีใช้ความรุนแรง บังคับมีเพศสัมพันธ์ด้วยความไม่ยินยอม บางคู่ ฝ่ายสามีมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่ภรรยารับไม่ได้ ต้องอดทนและจำยอม แม้จะอยากออกจากสภาพปัญหาแต่อยู่ในสถานะที่ไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร หรือยอมจำนนด้วยเหตุผลต่าง ๆ

แต่เดิมกฎหมายการข่มขืน ไม่ได้ถูกระบุไว้ในส่วนของสามีภรรยา แต่จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่มีความแตกต่างไปจากอดีต เกิดการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศที่เป็นคู่สามีภรรยา จึงทำให้มีการปรับปรุงกฎหมายที่ครอบคลุมถึงสามีภรรยา โดยมีการประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2550 โดยมีการระบุไว้ว่า

มาตรา 276 “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 8,000 – 40,000 บาท และในวรรคที่สี่ของมาตราเดียวกันระบุว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสนั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้”

ด้วยอำนาจแบบชายเป็นใหญ่ทำให้ผู้ชายบางคนคิดว่าภรรยาคือสมบัติของตน เมื่ออยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแล้ว จะทำอย่างไรกับภรรยาก็ได้ เลยคิดไปว่าการบังคับมีเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่ทำได้ แม้ฝ่ายหญิงจะไม่ยินยอม ซึ่งไม่ใช่ทั้งในแง่มนุษยชน และแง่ของกฎหมายอีกต่อไป

ที่น่าเป็นห่วงคือในช่วงที่รัฐบาลรณรงค์ให้ทุกคนอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งทำให้ผู้หญิงที่เผชิญกับความรุนแรงไม่มีทางเลือก เมื่อฝ่ายชายอยู่บ้านมากขึ้น นั่นหมายความว่าโอกาสเกิดความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย แต่ด้วยกฎหมายข้อนี้ ภรรยาที่ถูกกระทำความรุนแรงสามารถเรียกร้องสิทธิของตัวเองได้ การจะออกจากปัญหานี้ได้ก็ควรใช้ตัวช่วยด้านกฎหมาย อย่ายอมถูกกระทำความรุนแรงแม้ว่าจะเป็นสามีภรรยากันก็ตาม

ดังนั้นกฎหมายนี้จึงเป็นตัวช่วยเพื่อหยุดปัญหาความรุนแรงทางเพศซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของทั้งผู้หญิงเองและสมาชิกในครอบครัว การไม่แจ้งความไม่ได้หมายความว่าครอบครัวนั้นมีความสุข ไม่มีปัญหาความรุนแรง สังคมควรทำความเข้าใจใหม่ และผู้หญิงเองก็ควรใช้ตัวช่วยด้านกฎหมายนี้เพื่อแก้ไขปัญหา อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อ แม้ว่าผู้กระทำจะเป็นสามีของตัวเองก็ตาม

หากต้องการความช่วยเหลือสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล หมายเลข 0-2513-2889 ในวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 09.00 – 15.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ)


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy