แชร์

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ สาเหตุหลักการล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
133 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 27 เมษายน 2563)

จากการสำรวจข่าวหนังสือพิมพ์ปี 2560 โดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบข่าวการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ห้องเรียน มหาวิทยาลัย จำนวน 17 ข่าว หรือ 5.8% จากทั้งหมด 317 ข่าว โดยอีก 77 ข่าวเกิดในบ้านผู้ถูกกระทำ/ 49 ข่าวเกิดในบ้านผู้กระทำ/ 44 ข่าวเกิดริมถนนที่เปลี่ยว/ 27 ข่าวเกิดในป่าหญ้า สวนไร่/ และ 23 ข่าวเกิดในโรงแรม ม่านรูด

อาจกล่าวได้ว่าการล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียนเป็นปัญหาที่ถูกซุกอยู่ใต้พรม เพราะความจริงมีนักเรียนถูกล่วงละเมิดทางเพศจำนวนมาก แต่ที่มีการฟ้องร้องและปรากฎเป็นข่าวให้เราได้รับรู้มีเพียงไม่กี่สิบราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการล่วงละเมิดทางเพศนั้นเกิดจากบุคลากรในโรงเรียน

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจคือปัญหาหลัก

ในกรณีการล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน โดยผู้กระทำเป็นบุคลากร อาจารย์ หรือผู้อำนวยการโรงเรียน คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่า “การล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การที่ผู้อำนวยการโรงเรียน หรืออาจารย์ใช้อำนาจความเป็นครู เป็นผู้ที่มีความรู้ มีวุฒิภาวะสูง ไม่มีภาพพจน์ที่เสื่อมเสีย อาศัยความไว้วางใจเพื่อหาโอกาสในการเข้าถึงหรือปกปิดเรื่องราว ทำให้เมื่อเด็กออกมาสื่อสารก็ไม่มีใครเชื่อ ผลที่ตามมาคือคนในสังคมเริ่มตั้งคำถามที่เด็กก่อน ยิ่งถ้าเด็กทำตัวไม่ดี เป็นเด็กดื้อ เกเร ไม่เชื่อฟัง ก็ยิ่งทำให้คนในสังคมมองเด็กในมุมลบมากขึ้น การมีมายาคติเหล่านี้เมื่อเกิดความรุนแรงก็ทำให้เด็กไม่กล้าออกมาพูด ยอมจำนน ยอมถูกกระทำต่อไป และอาจนำไปสู่การทำให้เกิดภาวะการโทษตัวเอง หลายกรณีเด็กจะรู้สึกว่า “ฉันผิดใช่ไหมที่อยู่ในสถานการณ์แบบนั้น” “ฉันเป็นผู้หญิงไม่ดีใช่ไหม” ส่งผลต่อปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ในอนาคต ดังนั้นการสื่อสารให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งที่ถูกกระทำไม่ใช่ความผิดของเด็ก เราสามารถแก้ไขเรื่องนี้ร่วมกันได้ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาต้องสื่อสารในเชิงบวก รวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้นกว่านี้”

อำนาจชายเป็นใหญ่คือแรงบวกให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ

“ต้องยอมรับว่าอำนาจชายเป็นใหญ่มีอยู่ในทุกสาขาอาชีพ และซ่อนอยู่ในพื้นฐานความคิดของผู้ชายจำนวนมาก การที่ผู้ชายมีความรู้สึกอยู่เหนือกว่า มีอำนาจมากกว่า ขาดความยับยั้งเรื่องเพศ เมื่อมีความต้องการจะแสดงออกทันที ส่งผลให้การล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะด้วยคำพูด การกระทำ และรุนแรงที่สุดคือการข่มขืน ยิ่งคนที่รู้สึกมีอำนาจเหนือกว่าเป็นครูบาอาจารย์ ยิ่งเป็นแรงบวกให้ขาดวามยับยั้งชั่งใจ และก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศต่อนักเรียนได้”

การเผยแพร่คลิปวิดีโอแม้จะช่วยให้สังคมตระหนักแต่อาจยิ่งสร้างบาดแผลให้เด็ก

การเผยแพร่คลิปวิดีโอในโลกออนไลน์ อย่างกรณีของผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ลวนลามนักเรียนหญิง คุณอังคณา อินทสา ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “เงื่อนไขของการนำเอาภาพมาเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใดก็ตาม ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก การแอบถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือบุคคลสาธารณะถือว่ามีความผิด เพราะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมไปถึงสังคมอาจจะไม่เข้าใจเรื่องราวทั้งหมดแล้วแชร์ต่อกันไป เราเข้าใจว่าผู้เผยแพร่คงอยากให้สังคมตระหนัก แต่ในอนาคตเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว การที่เด็กต้องกลับมาเจอคลิปวิดีโอ มันคือการตอกย้ำความรู้สึก ทำให้เกิดความสะเทือนใจซ้ำแล้วซ้ำอีก อาจทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาวต่อตัวผู้ถูกกระทำ”

กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดหลักสูตรเรื่องเพศอย่างชัดเจน

“ที่ผ่านมามูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้มีการยื่นหนังสือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้โรงเรียนเป็นพื้นที่เสริมสร้างความรอบรู้เรื่องเพศศึกษา ซึ่งจะต้องกำหนดให้มีหลักสูตรเรื่องเพศอย่างชัดเจน ให้เด็กเกิดความฉลาดรู้เรื่องเพศ ปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการให้คำปรึกษา ครูต้องพร้อมรับฟังเด็ก ไม่ตัดสินเด็ก ต้องมีการร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน มีเครือข่ายเฝ้าระวัง มีครูที่เข้าใจ มีสภาพแวดล้อมที่เด็กเข้าหาได้”

สื่อมวลชนต้องไม่ผลิตซ้ำความรุนแรง “สื่อมวลชนเองก็ควรจะตระหนักถึงความสำคัญของการกระทำความรุนแรงต่อเด็กไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือโทรทัศน์ เพราะนำเสนอภาพข่าวที่เจาะลึกมากเกินไป การตามเด็กไปถึงบ้าน การทำภาพจำลองเหตุการณ์ การกระทำเหล่านี้เป็นการการผลิตซ้ำความรุนแรงทางเพศ การนำเสนอข่าวของเด็กหรือให้เด็กมาพูดในเรื่องเดิม ๆ เป็นการสร้างความรุนแรงซ้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก สื่อควรนำเสนอในแง่มุมที่สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนในสังคมเป็นหลัก” คุณอังคณา กล่าวทิ้งท้าย


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy