แชร์

ตำรวจข่มขืนผู้ต้องขังหญิงชาวเมียนมา สะท้อนอำนาจชายเป็นใหญ่

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
98 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 18 มกราคม 2564)

ถือเป็นข่าวสะเทือนวงการตำรวจ (อีกครั้ง) เมื่อผู้บังคับหมู่งานสืบสวน สถานีตำรวจภูธรบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศผู้ต้องขังหญิงชาวเมียนมา อายุ 21 ปี ช่วงกลางดึกของวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา (อ่านข่าวที่นี่) 

เรื่องนี้คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เหตุการณ์แรกเพิ่งเกิดขึ้น เรื่องนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิง และผู้ที่เป็นแรงงานข้ามชาติมาตลอด “ผู้หญิงและแรงงานข้ามชาติไร้ซึ่งอำนาจในการต่อรอง บางทีเจอผู้ต้องขังที่เป็นผู้หญิงและมีปัญหาเรื่องทำผิดกฎหมายด้วย ตำรวจหลายคนก็เคยทำแบบนี้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเรื่องเหล่านี้มักเกิดจากคนที่มีอำนาจเหนือประกอบแรงผลักจากระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่”

จากกรณีนี้เราจะเห็นปัญหาสำคัญ 3 อย่าง นั่นคือ

  1. การใช้อำนาจชายเป็นใหญ่ “ผู้ชายส่วนหนึ่งถูกปลูกฝังเรื่องเพศมาว่าเมื่อมีความต้องการทางเพศ สามารถแสดงออกได้เลย ไม่ต้องยับยั้งชั่งใจ หรือเวลามีแฟนถ้าผู้ชายมีความสัมพันธ์ได้ไวคนนั้นก็จะกลายเป็นคนเก่ง น่ายกย่อง เพราะฉะนั้นผู้ชายก็เลยถูกปลูกฝังในเรื่องเพศแบบผิด ๆ การปลูกฝังมาแบบนี้จึงทำให้ผู้ชายไม่มีการยับยั้งชั่งใจในเรื่องเพศ แม้ว่าในปัจจุบันเราจะพูดถึงเรื่องนี้กันมากขึ้น และพยายามปรับทัศนคติเหล่านี้ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด”
  2. การใช้อำนาจเหนือกว่า “ผู้ชายส่วนใหญ่ถูกปลูกฝังให้ตัวเองอยู่เหนือกว่า เช่น ในครอบครัวจะสอนให้ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นคนที่มีอำนาจเหนือกว่าทุกคน ทำงานหาเงิน ไม่ต้องทำงานบ้าน เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ซึ่งรองจากอำนาจชายเป็นใหญ่แล้ว การมีอำนาจที่เหนือกว่าถือเป็นปัญหาสำคัญ อย่างกรณีนี้ผู้กระทำใช้อำนาจความเป็นตำรวจถือโอกาสล่วงละเมิดทางเพศหญิงข้ามชาติที่ไม่มีอำนาจต่อรอง หรือแม้แต่ในอีกหลาย ๆ กรณีที่เกิดจากการใช้อำนาจเหนือ ครูล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน หัวหน้างานล่วงละเมิดทางเพศลูกน้อง หรือแม้แต่คนในครอบครัว พ่อข่มขืนลูกโดยใช้อำนาจความเป็นพ่อ ลูกต้องตอบแทนบุญคุณ ห้ามมีปากเสียง หรือแจ้งความ วัฒนธรรมทางสังคมที่ทำให้ผู้หญิงต้องจำยอมกับพฤติกรรมของเพศชายที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจเหนือทั้งสิ้น”
  3. ความเป็นผู้ต้องขังหญิงข้ามชาติทำให้ไม่สามารถต่อรองได้ “หญิงชาวเมียนมาจำนวนมาก เข้ามาประเทศไทยในฐานะแรงงานข้ามชาติ แม้ว่าจะทำงานแลกเงิน แต่กลับถูกกดทับด้วยปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะทัศนคติที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ เมื่อผู้หญิงกลุ่มนี้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีตัวตนและด้วยเป็นคนที่มาจากต่างประเทศ ประกอบกับทำผิดกฎหมายด้วย เมื่อถูกตำรวจล่วงละเมิดทางเพศจึงตกอยู่ในภาวะจำยอม ไม่สามารถมีปากมีเสียงได้”
การแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศโดยใช้กฎหมายลงโทษเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะต้นทางของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข “ระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่และการใช้อำนาจเหนือต้องถูกลดทอน และแทนที่ด้วยการปลูกฝังความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกาย และสิทธิความเป็นมนุษย์”

บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy