แชร์

กฎหมายลาคลอด 90 วันมีผลบังคับใช้ จากการต่อสู้ของแรงงานหญิง

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
131 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564)

นอกจากวันนี้ (1 พฤษภาคม) จะเป็นวันแรงงานแล้ว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2536 ยังเป็นวันที่กฎหมายลาคลอด 90 วันมีผลบังคับใช้อีกด้วย

ย้อนกลับไปเมื่อ 2534 องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน สหภาพแรงงาน ลงพื้นที่จัดกลุ่มศึกษาให้กับกลุ่มแรงงานหญิงและพบว่าหนึ่งในปัญหาสำคัญคือการลาคลอด สมัยนั้นการลาคลอดเป็นเรื่องยากลำบาก แรงงานหญิงบางคนไม่กล้าบอกว่าตั้งครรภ์เพราะกลัวจะถูกพักงาน บางรายไม่กล้าลาไปพบแพทย์ เพราะหากลาก็จะถูกตัดสิทธิเบี้ยขยัน หรือสิทธิอื่น ๆ บางรายก็ถูกเลิกจ้างหลังจากลาคลอด ทำให้แรงงานหญิงต้องทำงานหนักขึ้นในขณะตั้งครรภ์จนส่งผลกระทบถึงสุขภาพ บางรายถึงขั้นแท้งบุตร

ในช่วงนั้นมีแกนนำและเครือข่ายแรงงานหญิงย่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ พระประแดง และรังสิต ที่รวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง จึงใช้โอกาสวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2534 เรียกร้องให้เกิดกฎหมายลาคลอด 90 วัน ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลได้รับแนวทางนี้ไปปฏิบัติกับข้าราชการหญิงก่อน ทำให้แรงงานหญิงยังคงไม่ได้รับสิทธิลาคลอด 90 วัน ดั่งที่ได้เรียกร้องไป

หลังจากนั้นเครือข่ายแรงงานหญิง องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ด้านผู้หญิง ด้านเด็ก องค์กรแรงงาน สหภาพแรงงาน นักวิชาการ ร่วมกันเคลื่อนไหว เรียกร้องกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 2 ปี จนกระทั่งในปี 2536 มีการวางแผนการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง

ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2536 มีการก่อตั้งสมัชชาแรงงานหญิงโดยแกนนำแรงงานหญิงกว่า 500 คน ต่อเนื่องด้วยการเคลื่อนไหวรณรงค์กับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ

7 มีนาคม 2536 เครือข่ายกว่า 1,000 คน เข้ายื่นหนังสือต่อ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ส่งผลให้เกิดกระแสสังคมอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลแต่เครือข่ายก็ยังคงมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และเข้มข้นมากขึ้น

25 เมษายน 2536 เครือข่าย ปักหลักชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลแรงงานหญิงประกาศอดข้าวประท้วง การชุมนุมเริ่มทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

27 เมษายน 2536 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แรงงานหญิงสามารถลาคลอดได้ 90 วัน เครือข่ายจึงประกาศยุติการชุมนุมโดยประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นมา

การจะได้มาซึ่งกฎหมายลาคลอด 90 วัน จึงถือเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์สำคัญ ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายแรงงานหญิง องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ด้านผู้หญิง ด้านเด็ก องค์กรแรงงาน สหภาพแรงงาน นักวิชาการ นักการเมืองหญิง รวมไปถึงสื่อมวลชน เป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมมาจนถึงทุกวันนี้


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy