แชร์

แลกเปลี่ยนมุมมอง เลี้ยงลูก-ทำงานบ้าน ในสังคมชายเป็นใหญ่

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
104 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 28 กันยายน 2564)

“เลี้ยงลูก-ทำงานบ้าน ในสังคมชายเป็นใหญ่” โดย คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

ความคิดแบบอนุรักษ์นิยม และความคิดแบบชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย ทำให้การมีลูกกลายเป็นเรื่องยาก

ระบบชายเป็นใหญ่มีความสำคัญมากในการบ่มเพาะสังคม มีการมองว่าเด็กผู้ชายไม่ต้องทำงานบ้าน ห้ามร้องไห้ ต้องเป็นผู้ใหญ่ ถ้าเห็นเด็กผู้ชายทำงานบ้านจะถูกมองว่าเป็นกะเทยหรือเปล่า ไม่มีความเป็นชายชาตรี ไม่แมนเลย เรื่องงานบ้านจะถูกตีตราว่าเป็นงานของผู้หญิง ไม่ว่าเรื่องทำกับข้าว เลี้ยงลูก เพราะแบบนี้มันเลยทำให้เป็นปัญหา ทำให้ผู้ชายหลายคนปฏิเสธงานเหล่านี้ ซึ่งนี่คือปัญหาของสังคมไทย เพราะสังคมไทยยังมีความคิดแบบชายเป็นใหญ่ มีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมสูงมาก ถ้าเราไม่มีการปรับสวัสดิการครอบครัวที่ดี เช่น ให้ลาคลอดเพิ่มขึ้น ให้ผู้ชายลาเลี้ยงลูกไม่ได้ ก็จะทำให้อัตราการเกิดของเด็กในประเทศน้อยลง ผู้หญิงไม่อยากมีลูก เพราะเขาจะเชื่อว่าถ้าแต่งงานไปแฟนจะดูแลลูกไม่ได้ ต้องเข้าใจผู้หญิงยุคหลังเจนเอ็กซ์หลายคนไม่เชื่อเรื่องความโรแมนติกในการแต่งงานอีกแล้ว เขาเชื่อความเป็นจริงว่าผู้ชายไทยเป็นแบบนี้ ถ้าแต่งงานก็จะไม่อยากมีลูก

เพราะผู้หญิงต้องแบกรับภาระมากมายทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ดังนั้นผู้ชายถึงควรช่วยดูแลงานบ้านและช่วยดูแลลูก

ในเชิงรายละเอียดมันเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะช่วงที่ผู้หญิงท้องเป็นอะไรที่เหนื่อยมาก ช่วง 9 เดือนที่ต้องอุ้มท้องเขาต้องระวังรักษาสุขภาพ บางทีก็ปวดหลัง อาการเยอะแยะไปหมด เป็นเรื่องที่ผู้หญิงต้องแบกภาระ แต่พอคลอดแล้วผู้ชายต้องช่วยเลี้ยงดู เพราะช่วงคลอดใหม่ ๆ ผู้หญิงจะมีภาวะเรื่องจิตใจที่พะวงหลายอย่าง เช่น อนาคตลูก เรื่องความรับผิดชอบของสามี ผู้ชายจึงควรช่วยงานบ้านให้มากขึ้น เช่น ล้างขวดนม ซักเสื้อผ้า ผู้หญิงเขาจะเหนื่อยมาก ถ้าเราได้ช่วยทำเรื่องเหล่านี้แบ่งเบาภาระได้มาก จะรับรู้ได้เลยว่าภาระตรงนี้มันหนักมาก หลายคนที่รับภาระไม่ไหวเขาถึงได้เอาลูกไปให้คนอื่นเลี้ยง หรือบางคนก็ถึงขั้นทิ้งลูกก็มี เพราะว่ามันมีความเครียดสูง

สิทธิด้านแรงงานหญิงถูกมองเป็นเหมือนแรงงานสำรอง ผู้หญิงถูกมองว่าการทำงานบ้าน-เลี้ยงลูก เป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ

ผู้หญิงถูกมองว่ามีหน้าที่ในการตั้งท้อง ดูแลลูก เหมือนแรงงานหญิงระบบทุนนิยมมองว่า เป็นแรงงานสำรองอยู่แล้ว นายจ้างไม่อยากจ่ายหรอกค่าแรง 90 วัน เขามองว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่จะต้องทำอยู่แล้ว สังคมส่วนใหญ่โดยเฉพาะความคิดแบบชายเป็นใหญ่ ถ้าไม่คิดเป็นมูลค่า ถ้าเราไม่ตั้งคำถามกลับกับสามีว่า ค่าเลี้ยงลูก ค่าทำงานบ้านที่คิดเป็นเงิน สามีต้องจ่ายไม่รู้เท่าไร เขาก็จะไม่เข้าใจ เรื่องแบบนี้เราควรตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้แล้ว นายจ้างต้องแบกรับ สังคมต้องแบกรับ เพื่อการดูแลทรัพยากรของมนุษย์ในสังคม ต้องช่วยกันดูแล มันดูแลแค่เพศใดเพศหนึ่งไม่ได้ เพราะเรื่องการดูแลลูกไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ เราล้วนเป็นมนุษย์ถ้าเกิดมันไม่มีเรื่องเพศ ผู้ชายก็ดูแลเด็กได้ละเอียดอ่อนไม่ต่างจากผู้หญิง เพียงแต่ว่าสังคมชายเป็นใหญ่มันเป็นกำแพงกั้น ทำให้ผู้ชายหลายคนไม่กล้าเข้ามาในกำแพงนี้ แต่ถ้าถูกเรียนรู้และคิดว่านี่เป็นเรื่องธรรมชาติมันจะไม่มีกำแพง

การเปลี่ยนแปลงต้องแก้ไปด้วยกันทั้งหมด ทั้งระบบการศึกษา สื่อ และนโยบายรัฐต้องซัพพอร์ต

ระบบการศึกษาไทยและสื่อยังเป็นปัญหาใหญ่ ยังไม่ตระหนักเรื่องบทบาทหญิงชาย หรือความเท่าเทียมระหว่างเพศ ยังมีการสอนแบบผิด ๆ อย่างรูปในหนังสือ เช่น ผู้หญิงเป็นแม่บ้านทำงานบ้าน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ควรเป็นแค่เพศหญิง ควรปรับเปลี่ยนได้แล้ว เพราะว่ามันเป็นการกดทับและตอกย้ำ
รัฐบาลมองเรื่องนี้แบบชายเป็นใหญ่ แบบโบราณ แบบอนุรักษ์นิยม ยังไงก็ไม่ให้ลาคลอดเพิ่มแน่นอน ไม่ให้ผู้ชายไปเลี้ยงลูกเพราะจะเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เขาคิดว่าถ้าให้ผู้ชายมาเลี้ยงลูกแล้วใครจะมาทำงาน ก็จะคิดในมุมแบบนี้หมด นโยบายรัฐต้องสนับสนุน เช่น การมีกฎหมายให้ผู้ชายลาเลี้ยงลูก ซึ่งในต่างประเทศให้ผู้ชายได้ลาเลี้ยงลูกได้หลายประเทศ อย่างเช่น การให้ผู้ชายที่เป็นราชการลาไปเลี้ยงลูกได้ 15 วัน แต่ไม่มีการประเมินว่าผู้ชายที่ทำราชการลาไปเลี้ยงลูกเป็นอย่างไรบ้าง แล้วมันมีผู้ชายที่ทำงานราชการแล้วลาไปเลี้ยงลูกบ้างไหม ตรงนี้ยังก็ไม่มีการพูดถึง ไม่มีการประเมิน

หากทุกคนตระหนักถึงเรื่องนี้ เห็นคุณค่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างเท่าเทียม ในอนาคตสังคมจะเปลี่ยนไป

ถ้าทุกคนตระหนักถึงเรื่องนี้ เห็นคุณค่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างเท่าเทียมโลกคงดีขึ้นกว่านี้ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ในอนาคตเชื่อว่าสังคมจะเปลี่ยนไป ต้องบอกว่าตอนนี้เราฝืนสังคมแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นแนวโน้มความเท่าเทียมจะสูงขึ้น หมายความว่าผู้ชายจะมาบอกว่าแต่งงานไปแล้วงานบ้านเธอจะต้องทำไม่ได้แล้ว ในสังคมไทยความคิดแบบเดิม ๆ จะถูกต่อสู้ และจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น การทำงานบ้าน หรือการเลี้ยงลูกไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ มันเป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์ ซึ่งทัศนคติคนเราสามารถเปลี่ยนได้ การเรียนรู้ไปท่ามกลางการปฏิบัติ การแลกเปลี่ยน การพูดคุย ถ้ามีประสบการณ์ มีการเรียนรู้ร่วมกันเขาจะเปลี่ยนความคิดได้


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy