แชร์

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
143 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564)

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้

ความรักและความหวัง

หลังถูกกระทำความรุนแรง ฝ่ายที่กระทำมักจะขอโอกาสแก้ตัวและให้คำสัญญาว่าจะไม่กระทำความรุนแรงอีก หรือบ่อยครั้งที่ความรุนแรงเกิดขึ้นจากการดื่มสุรา เมื่อสร่างเมาก็จะขอโทษ หรือรู้สึกผิดที่ทำลงไป ทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความหวัง หวังว่าฝ่ายชายจะปรับปรุงตัวดีขึ้น ประกอบกับความรักและความผูกพัน จึงตกอยู่ในภาวะจำยอม

เพื่อรักษาความเป็นครอบครัว

สังคมของไทยมักจะปลูกฝังว่า ครอบครัวที่ดีต้องเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ มีทั้ง พ่อ แม่ และลูก เพื่อรักษาหน้าตาทางสังคม ทำให้ฝ่ายหญิงต้องอดทน ไม่กล้าเดินออกจากปัญหา เพราะกลัวสังคมจะตราหน้าว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี หรือเคยผ่านการหย่าร้าง

อดทนเพื่อลูก

ฝ่ายหญิงมักจะกลัวว่าหากแยกทางออกมาแล้วลูกจะมีปมด้อย ขาดความอบอุ่น ไม่มีพ่อเหมือนครอบครัวอื่น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของลูกในอนาคต

กลัวเกิดปัญหาด้านการเงิน

ผู้หญิงหลายคนกลัวว่าหากเลิกกันแล้วจะไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองหรือลูกได้ บางคนไม่ได้ทำงาน อาศัยเงินจากสามี เป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูกเพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่กล้าที่จะแยกทาง เพราะกลัวจะเกิดปัญหาทางด้านการเงินขึ้น

คิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว

สังคมไทยมักคิดว่าเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเอาตัวเข้าไปยุ่ง หรือไม่ควรบอกให้ใครรู้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนต้องอดทนต่อความรุนแรง ไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอก หรือไม่กล้าขอความช่วยเหลือกับใคร

เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้ ผลสำรวจของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ระบุว่า ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง 3 ใน 4 ถูกกระทำซ้ำและทวีความรุนแรง อีกทั้งยังมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลในปีนี้ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลและภาคีเครือข่ายขอชวนทุกทานร่วมกันรณรงค์ "ความรุนแรงในบ้าน ให้มันจบที่ครั้งแรก" เพื่อหยุดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก

นอกจากนี้ยังสามารถรับชม Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ที่สร้างจากประสบการณ์ของผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรง ได้ที่

▶ Mueum of first time

แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว โทร.1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล 02 513 2889

#ให้มันจบที่ครั้งแรก #มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล #museumof1sttime #วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy