แชร์

ฝ่าวิกฤตโควิด-19 บทบาทมูลนิธิหญิงชายกับเครือข่าย ในวันที่รอคอยความช่วยเหลือจากรัฐไม่ได้

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
199 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 13 สิงหาคม 2564)

เครือข่ายชุมชนเป็นพื้นที่ที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลให้ความสำคัญมาก การแก้ไขปัญหาความเท่าเทียมจากระบบชายเป็นใหญ่ ความรุนแรงในครอบครัว ทุกคนในชุมชนถือว่ามีบทบาทสำคัญ และขับเคลื่อนร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเสมอมา ในช่วงที่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ มูลนิธิฯ จึงวางแผนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนร่วมกับเครือข่ายชุมชนไว้ 3 ระยะ

  • ระยะสั้น ได้แก่ การมอบอาหาร ถุงยังชีพ
  • ระยะกลาง สร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้แต่ละพื้นที่ดูแลตัวเองได้ รวมถึงเชื่อมร้อยเครือข่ายทั้งเครือข่ายชุมชนชนบท ชุมชนเมือง และชุมชนแรงงาน
  • ระยะยาว ผลักดันให้เกิดนโยบาย ให้องค์ความรู้ในการป้องกัน ดูแลตัวเองแก่ชุมชน และการนำเสนข่าวเพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา

บทเรียนจากการระบาดระลอกแรก

ระลอกแรกของการระบาด มูลนิธิฯ ได้ประสานระหว่างเครือข่ายชุมชนชนบท ชุมชนเมือง และชุมชนแรงงาน เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนด้านอาหาร โดยชุมชนชนบทที่มุ่งเน้นการผลิตเกษตรอินทรีย์ได้แบ่งปันข้าวสาร ผักปลอดสารพิษ อาหารแห้ง ให้กับเครือข่ายชุมชนเมือง ชุมชนแรงงาน ซึ่งกำลังประสบปัญหาด้านอาหาร ในขณะที่ชุมชนเมืองและชุมชนแรงงานก็เริ่มสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยการใช้พื้นที่ที่พอมีทำเกษตรอินทรีย์เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองได้

จากบทเรียนในครั้งนั้น และด้วยความร่วมมือของมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย จึงได้มีการจัดทำถุงยังชีพ โดยอุดหนุนสินค้าจากเครือข่ายชุมชนชนบท ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ นำไปมอบให้กับชุมชนเมืองและชุมชนแรงงานเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและสร้างรายได้ให้กับชุมชนชนบท นอกจากนี้ยังทำให้เครือข่ายสามารถเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกันได้อีกด้วย

นอกจากการจัดทำถุงยังชีพแล้ว ยังมีโครงการ “ข้าวไข่เจียวอิ่มสุข” ซึ่งเป็นร้านข้าวไข่เจียวราคาแล้วแต่จะจ่าย ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด คนไร้บ้าน หรือคนยากลำบากก็สามารถมารับประทานได้ฟรี หรือบางคนก็ถือโอกาสบริจาคเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือคนอื่นด้วย ข้าวไข่เจียวอิ่มสุขถือเป็นการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจสำหรับคนรายได้น้อย เพราะหากเป็นการแจกข้าวกล่อง และถุงยังชีพก็ทำได้เพียงระยะสั้น แต่การมีร้านข้าวไข่เจียวลักษณะนี้จะทำให้เกิดการช่วยเหลือกันได้อย่างยั่งยืนมากกว่า

การหนุนเสริมให้องค์ความรู้

เมื่อสถานการณ์หนักขึ้น มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ในขณะที่ระบบการรักษาไม่เพียงพอ ชุมชนจึงต้องดูแลกันเอง สิ่งที่ต้องทำเพิ่มขึ้นคือการเชิญผู้ที่มีความรู้มาให้ข้อมูลกับคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนยังมีความเข้าใจผิด มีการตีตรา มีความหวาดระแวง และมีความตื่นกลัว ขาดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 เรื่องการแบ่งระดับอาการป่วยเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง การเข้าสู่ระบบ Home isolation การป้องกันที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้สมุนไพร และข้อมูลการฉีดวัคซีน โดยหากไม่สามารถลงพื้นที่ได้ ก็จะใช้การประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชนต่อไป

หลักคิดในการทำงานร่วมกับชุมชน

สิ่งสำคัญของการทำงานเชิงลึกในพื้นที่ ไม่ใช่แค่แจกถุงยังชีพหรือบริจาคอาหารแล้วจบ หลักวิธีคิดในการทำงานร่วมกับชุมชนต้องมีการ “เกาะติด ตามต่อ หนุนเสริม” เกาะติดเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ตามต่อจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข หนุนเสริมในสิ่งที่ชุมชนขาด ช่วยเหลือในสิ่งที่ชุมชนประสบปัญหา และต้องพัฒนาคู่กันไปเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมกับการให้ข่าวเพื่อสื่อสารกระตุ้นภาครัฐให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชนมากขึ้น

ปัญหาจากการบริหารจัดการที่ล้มเหลวของภาครัฐ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนเมืองและชุมชนแรงงานมีความน่าเป็นห่วง การรับมือที่ทำได้ค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะการทำงานของภาครัฐที่ไม่เอื้อต่อสถานการณ์ที่เร่งด่วน รัฐไม่มีระบบรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ขาดความยืนหยุ่น กลายเป็นการผลักภาระให้ชุมชน หลายชุมชนที่ประสบปัญหา เมื่อเห็นคนในพื้นที่ลำบากหรือติดโควิด-19 คนในชุมชนจะไม่นิ่งเฉย พร้อมเข้าไปช่วยเหลือทันที แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่เพราะยังขาดการสนับสนุนในเรื่องของอุปกรณ์ ทั้งเตียงรักษา ชุด PPE เครื่องวัดออกซิเจน ยารักษา และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วย หรือแม้กระทั่งองค์ความรู้ที่จำเป็น

สถานการณ์ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ในขณะที่หลายชุมชนเริ่มมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก การช่วยเหลือกันทั้งในชุมชนและระหว่างเครือข่ายชุมชนต่าง ๆ รวมถึงการประสานงานของมูลนิธิฯ จึงยังต้องดำเนินต่อ การรอเพียงความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวคงเป็นไม่ได้และไม่ทันต่อสถานการณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy