แชร์

เรียกร้องสิทธิที่ไม่เป็นธรรม ลาคลอด 90 วัน ของคนงานหญิงไทย

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
486 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 8 มีนาคม 2565 )

8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Working Women's Day) ย้อนกลับไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว คนงานหญิงในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องความไม่เป็นธรรมจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีดจากนายทุน ต้องทำงานด้วยชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน สภาพการทำงานที่เลวร้าย ไม่มีความปลอดภัย ค่าแรงต่ำ โดยการเรียกร้องเริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 ระยะเวลากว่า 50 ปีแห่งการต่อสู้นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 นั่นคือประกาศรับรองข้อเรียกร้องและเกิดระบบการทำงานที่เป็นธรรม ที่เรียกว่าระบบ 3/8 ซึ่งได้แก่ ลดการทำงานเหลือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ให้เวลาศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังทำให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

สำหรับเมืองไทย ปี 2534 คนงานหญิงไทยเริ่มเรียกร้องการลาคลอด 90 วัน จากที่ลาคลอดได้เพียง 30 วัน เมื่อคนงานที่ตั้งครรภ์ในยุคนั้นต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ บางคนต้องเอาผ้ารัดหน้าท้องเพราะกลัวนายจ้างรู้ว่าตั้งครรภ์ ถ้ารู้จะถูกไล่ออก คนงานหญิงหลายคนแท้งลูก จากสภาพการทำงานที่เลวร้าย ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน จึงนำมาสู่การเรียกร้องสิทธิลาคลอด 90 วัน และประสบความสำเร็จในปี 2536 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2536

การได้มาซึ่งสิทธิลาคลอด 90 วัน เป็นการต่อสู้ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายแรงงานหญิง องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ด้านผู้หญิง ด้านเด็ก องค์กรแรงงาน สหภาพแรงงาน นักวิชาการ นักการเมืองหญิง รวมไปถึงสื่อมวลชน ถือเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม แต่อย่างไรก็ตามคนรุ่นหลังก็ควรออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิลาคลอดเพิ่มขึ้น รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้หญิงควรได้รับด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy