แชร์

ทำไมผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัวถึงออกมาเรียกร้องความถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
2303 ผู้เข้าชม
ทำไมผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัวถึงออกมาเรียกร้องความถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว

(เผยแพร่บทความเมื่อ 2 มีนาคม 2566)

เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้หญิงออกมาพูดหรือเรียกร้องความถูกต้องจากการถูกใช้ความรุนแรงในอดีตที่ผ่านมา แรงกดดันจากสังคมมักจะเกิดขึ้นทันที พร้อมกับคำถามว่า “ทำไมถึงเพิ่งออกมาพูด ทั้งที่เวลาผ่านมานานแล้ว” ความเข้าใจของคนในสังคมที่คาดเคลื่อนจากการถูกหล่อหลอมด้วยกรอบคิดชายเป็นใหญ่ ทำให้ไม่เข้าใจว่าการที่ผู้หญิงจะลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละคนมีปัจจัยที่แตกต่างกัน

และนี่คือ 10 เหตุผลที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้รวบรวมจากเคสผู้ถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว ว่าทำไมผู้หญิงถึงออกมาพูดหรือเรียกร้องความถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว

1. ตกอยู่ในภาวะความกลัว ถูกข่มขู่ คุกคามจากฝ่ายชาย ในช่วงที่ผู้หญิงถูกใช้ความรุนแรงมักจะถูกข่มขู่ คุกคาม จากฝ่ายชาย โดยเฉพาะเมื่อผู้ชายมีอำนาจมากกว่า ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าที่จะออกมาเรียกร้องหรือออกจากความสัมพันธ์นั้น

2. ฝ่ายชายมีอำนาจ มีภาพลักษณ์ที่ดี และได้รับการยอมรับจากสังคม สังคมมักให้ความสำคัญและเชื่อถือผู้ที่มีอำนาจ มีภาพลักษณ์ที่ดี่ การที่ฝ่ายชายได้รับการยอมรับจากสังคมจึงทำให้ฝ่ายหญิงรู้สึกว่าหากพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ และกลับมาตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงแทน

3. มายาคติของสังคมที่มักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย ทุกครั้งที่เกิดความรุนแรงในครอบครัว สังคมมักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงก่อน เช่น ไปยั่วโมโหเขาหรือเปล่า ไปทำอะไรให้เขาไม่พอใจใช่ไหม แทนที่จะเป็นการตั้งคำถามกับฝ่ายชาย

4. เคยรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หรือคิดว่าฝ่ายชายจะเปลี่ยนได้ หลายคนรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ผู้ชายบางคนใช้ความรุนแรงหลังจากดื่มสุรา เมื่อมีสติก็กลับมาขอโทษ สัญญาว่าจะไม่ทำอีก ทำให้รู้สึกว่าเดี๋ยวฝ่ายชายก็เปลี่ยนได้ ประกอบกับการหล่อหลอมของสังคมที่บอกว่าเรื่องในครอบครัวอย่าเอาไปพูดกับใคร ถ้าคนอื่นรู้จะดูไม่ดี

5. กลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับลูก ครอบครัว หรือปัญหาเศรษฐกิจ การปลูกฝังว่าครอบครัวที่สมบูรณ์คือการมีพ่อ แม่ ลูก เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงฝ่ายหญิงจึงมักเลือกที่จะไม่พูดเพราะกลัวจะส่งผลกระทบต่อลูก ครอบครัว ยิ่งบางครอบครัวที่ฝ่ายชายทำงาน ในขณะที่ฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูก ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายหญิงกลัวเกิดปัญหาด้านการเงิน และไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้ในทันที

6. ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ออกมาพูด เมื่อไม่มีการยอมรับหรือความเข้าใจจากสังคม แม้กระทั่งในระดับของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านกฎหมาย ก็ยิ่งทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าไม่มีพื้นที่ปลอดภัย การออกมาพูดก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำตัวเอง แทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหา

7. ที่ผ่านมาไม่มีคนที่ออกมาพูดในเรื่องแบบนี้ สังคมไทยที่สอนต่อกันมาว่าเรื่องในครอบครัวไม่ควรออกมาพูด ทำให้การที่ใครรจะออกมาเปิดเผยว่าตนถูกกระทำความรุนแรงนั้นเป็นเรื่องยาก เมื่อเห็นว่าที่ผ่านมาไม่มีคนออกมาพูดในเรื่องนี้ ผู้ถูกใช้ความรุนแรงก็มักเลือกที่จะเก็บไว้

8. ระบบกฎหมายที่ไม่เอื้อ กฎหมายที่ยังไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมไปถึงผู้บังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้าใจและอยู่บนพื้นฐานหลักคิดแบบชายเป็นใหญ่ ทำให้ผู้ถูกกระทำไม่อยากออกมาใช้กระบวนการทางกฎหมาย และคิดว่าถึงเรียกร้องไปก็ไม่เป็นผล

9. ต้องใช้เวลาเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจและทำให้ตัวเองเข้มแข็งขึ้น หลายคนมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำ มีภาวะหวาดระแวง ไปจนถึงซึมเศร้า ต้องใช้เวลาในการเยียวยาสภาพจิตใจ จนเมื่อรู้สึกว่าตัวเองเข้มแข็งขึ้นจึงกล้าที่จะออกมาพูดและเรียกร้องความถูกต้อง

10. ต้องการหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเข้าใจว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เมื่อผ่านระยะเวลาประกอบกับสภาพจิตใจเข้มแข็ง และเข้าใจแล้วว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ผู้หญิงจึงกล้าที่จะออกมาพูดเพื่อหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเพื่อไม่ให้ใครถูกระทำด้วยความรุนแรงเช่นตนเองอีก

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะออกความรุนแรง หรือกล้าที่จะออกมาพูดและเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละคน แต่ละครอบครัว สังคมจึงควรเข้าใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และหยุดการตั้งคำถามว่า “ทำไมเพิ่งออกมาพูด”

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 ก.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy