แชร์

แบบเรียนเด็กไทยไม่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
2744 ผู้เข้าชม
แบบเรียนเด็กไทยไม่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

(เผยแพร่บทความเมื่อ 4 พฤษภาคม 2566)

จากประเด็นที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ถึงเนื้อหาภายในแบบเรียน ‘ภาษาพาที’ หนังสือเรียนภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีการปลูกฝังทัศนคติ ชุดความคิดจากค่านิยมในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อความคิดอันบิดเบี้ยวของเด็ก ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดเราก็พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการไม่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และผลิตซ้ำอำนาจชายเป็นใหญ่ในแบบเรียนนี้ด้วย

“เป็นลูกผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว ไม่ปล่อยเนื้อปล่อยตัวไปกับใคร ๆ ก่อนวันแต่งงาน” ประโยคที่มาจากแบบเรียนภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาที่ที่ 5 หน้า 255

การปลูกฝังให้ผู้หญิง ‘รักนวลสงวนตัว’ เป็นการตีกรอบความเป็นหญิงความเป็นชาย หากไม่รักนวลสงวนตัว จะถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี ไม่เหมาะกับเกียรติของสามี นี่คือการผลิตซ้ำและส่งต่อกรอบคิดแบบชายเป็นใหญ่ เป็นการกดทับ ลดทอนคุณค่าของผู้หญิงอย่างรุนแรง แม้ว่าหลาย ๆ หน่วยงานรวมถึงมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเอง จะพยายามสร้างความเข้าใจให้กับสังคม แต่แบบเรียนเล่มนี้กลับไม่เข้าใจ และปล่อยให้เนื้อหาลักษณะนี้สร้างความคิด ทัศนคติผิด ๆ ให้กับเด็ก

การปลูกฝังความคิดเหล่านี้นำไปสู่ทัศนคติต่อสังคมที่เป็นการเพิ่มความคาดหวังในตัวผู้หญิง จนถูกมองข้ามคุณค่าที่แท้จริง แต่ไม่ใช่เพียงแบบเรียนภาษาพาทีเท่านั้น ยังมีแบบเรียนอื่น ๆ ที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเคยรวบรวม และเรียกร้องให้มีการปรับปรุงเนื้อหาอีกหลายเล่ม

ปี 2561 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับเครือข่ายผู้ปกครองและเยาวชน ยื่นหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการให้มีการปรับหลักสูตรการสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เนื่องจากมีเนื้อหาลดทอนคุณค่าของผู้หญิงและส่งเสริมทัศนคติชายเป็นใหญ่ เนื้อหาบางส่วนในหลักสูตรการเรียนการสอนยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมทางระหว่างเพศ การให้เกียรติเคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่นซ่อนความคิดแบบชายเป็นใหญ่ มีส่วนในการบ่มเพาะความคิดความเชื่อที่ผิด เช่น ผู้หญิงต้องทำงานบ้าน ดูแลลูก และครอบครัว ผู้ชายมีความแข็งแกร่งเป็นผู้นำมากกว่า ผู้ชายเปรียบเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ซึ่งทัศนคตินี้มีส่วนทำให้ปัญหาความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัวที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

และในปี 2563 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้จัดเวทีเสวนา “เมื่อแบบเรียนเป็นอุปสรรคต่อความเสมอภาคระหว่างเพศ” ซึ่งเป็นอีกครั้งที่มีการเรียกร้องให้มีการปรับหลักสูตรการเรียนสอนใหม่

การแบ่งแยก “ความเป็นหญิง” และ “ความเป็นชาย” ผ่านความแตกต่างทางด้านอารมณ์และลักษณะนิสัย เช่น เด็กผู้หญิงต้องอ่อนโยน มีความเมตตา เด็กผู้ชายต้องมีความกล้าหาญ แข็งแกร่ง ความแตกต่างด้านบทบาทหน้าที่ เช่น ผู้หญิงต้องเป็นภรรยาที่ดี ทำงานบ้าน ทำอาหารให้คนในครอบครัว ผู้ชายต้องเป็นผู้นำครอบครัวที่ดี ขยันทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว ความแตกต่างทางด้านพฤติกรรม เช่น ผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว ไม่แต่งกายล่อแหลม ยั่วยุอารมณ์ทางเพศ

ทั้งหมดเป็นการเอาระบบเพศโดยกำเนิดมาตีกรอบพฤติกรรม ทำให้เด็กยึดเอาเพศของตนเป็นศูนย์กลางในการแสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์

ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ให้ความเห็นว่า “แบบเรียนเหล่านี้เป็นหลักสูตรที่ล้าหลัง ไม่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศและไม่ให้ความสำคัญกับเพศสภาพ เป็นการปลูกฝังทัศนคติทางอ้อมที่แนบเนียนแต่สามารถส่งผลกระทบได้อย่างรุนแรง เพราะสุดท้ายการปลูกฝังความคิดเช่นนี้จะกลายเป็นความครอบงำที่กำกับเบื้องหลังพฤติกรรมระหว่างเพศ โดยผู้หญิงเป็นฝ่ายที่สยบยอม ส่วนผู้ชายมีความก้าวร้าว ไม่รับฟัง และกดขี่

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการปรับปรุงหลักสูตร แบบเรียนต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ทั้งหมด ยังมีทัศนคติของความไม่เท่าเทียม และอำนาจชายเป็นใหญ่ สอดแทรกมาอยู่เรื่อย ๆ เช่นเดียวกับในแบบเรียนภาษาพาทีเล่มนี้ เราหวังว่าผู้ที่เขียนหนังสือ ผู้ที่ออกหลักสูตร จะมีความเข้าใจ และเรียนรู้ประเด็นเชิงสังคมให้มากขึ้น ไม่ใช่เพียงเอาทัศนคติส่วนตัวใส่ลงไป เพราะนี่คือการปลูกฝังทัศคติผิด ๆ ให้กับเด็ก และส่งผลกระทบต่อสังคมในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ
7 ข้อเสนอ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อจัดการปัญหาการคุกคามทางเพศ เพราะปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แนวทางเอาผิดทางวินัยของแต่ละองค์กรนั้นยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้
20 พ.ย. 2023
ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเกิดจากความยินยอม (Consent)  3 คำจำและนำไปใช้ ASK-LISTEN-RESPECT
Consent หรือการยินยอม คือความเสมอภาคระหว่างเพศ เพราะนั่นหมายถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเพศต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจน
7 พ.ย. 2023
“เพื่อนช่วยเพื่อน” กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
กรณีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีทัศนคติ ค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มและการหนุนเสริมที่เข้าใจ และเป็นมิตร ที่เรียกว่า "เพื่อนช่วยเพื่อน" กลุ่มผู้ชายลด ละ เลิกเหล้า ลดความรุนแรงในครอบครัว
28 ก.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy