แชร์

พ่อแม่ไม่ใช่เจ้าของชีวิตลูก

อัพเดทล่าสุด: 13 มิ.ย. 2024
2647 ผู้เข้าชม

(เผยแพร่บทความเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566)

ช่วงที่ผ่านมามีข่าวความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะข่าวเด็กถูกใช้ความรุนแรงถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่การกักขัง ทุบตีทำร้ายร่างกาย จนถึงการฆ่า ล่าสุดพบศพเด็กหญิงวัย 12 ปี ถูกฆ่าอำพรางยัดถังน้ำแข็งโบกปูนทับ ผู้ก่อเหตุเป็นพ่อบุญธรรม ซึ่งข้ออ้างที่มักใช้เสมอคือ บันดาลโทสะ เพราะเด็กดื้อ ชอบขโมยของ เป็นต้น

จากการเก็บข้อมูลข่าวความรุนแรงในครอบครัวจากหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กรณีพ่อฆ่าลูก ระหว่างปี 2559-2564 มีจำนวน 15-25 ข่าวต่อปี ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

อะไรที่นำไปสู่ปัญหา

"มายาคติด พ่อแม่เป็นเจ้าชีวิตของลูก" มายาคติในครอบครัวที่พ่อแม่มองว่าตัวเองเป็นเจ้าชีวิตของลูก ลูกเป็นสมบัติ การลงโทษจึงเป็นการแสดงถึงความรัก ความหวังดี ถ้าอยากให้ลูกเป็นคนดีก็ต้องตี มายาคติเหล่านี้หล่อหลอมให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ลูกต้องอยู่ในสายตา หากทำอะไรผิดต้องถูกลงโทษรุนแรง เพื่อให้หลาบจำ หรือเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดูเหมาะสม

ขาดความผูกพัน การเรียนรู้ ร่วมทุกข์ร่วมสุข และทักษะการใช้ชีวิตในครอบครัว
หลายครอบครัวขาดความผูกพัน การเรียนรู้ ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่มีการเตรียมพร้อม ขาดทักษะในการใช้ชีวิตเป็นครอบครัว อย่างกรณีของพ่อเลี้ยงที่ทำร้ายลูก เป็นครอบครัวที่เปราะบาง ไม่สามารถสื่อสารด้วยเหตุและผลได้ เด็กจึงถูกใช้ความรุนแรงตั้งแต่เล็กจนโต

"อยู่ในสภาพสังคมที่มีแต่การใช้อำนาจกดทับ" การอยู่ในสภาพสังคมที่มีแต่การใช้อำนาจกดทับ บ่อยครั้งที่ผู้กระทำ เป็นผู้ที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อเกิดความโมโห ไม่พอใจ ก็แสดงออกด้วยความรุนแรง หลายกรณีเมื่อสาวไปถึงปมจะพบว่าเคยอยู่ในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงมาก่อน หรือถูกกดขี่ ใช้อำนาจจากการทำงาน แม้กระทั่งการถูกใช้อำนาจจากครูในโรงเรียน ทำให้ผู้กระทำซึมซับความรุนแรง และคิดว่าการใช้ความรุนแรงคือทางออกของปัญหา

"สุรา ยาเสพติด ความเครียด" การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ ทำให้สมองส่วนควบคุมอารมณ์อ่อนด้อยลง ไม่สามารถใช้เหตุและผลในการตัดสินใจได้ นอกจากนี้ความเครียดที่เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ การหารายได้เลี้ยงชีพ หนี้สิน ก็ถือเป็นอีกปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญเช่นกัน

ปัญหาเชิงโครงสร้างกดทับวิกฤตความรุนแรง

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจะมองปรากฎการณ์ระดับปัจเจกไม่เพียงพอ เพราะเหล่านี้เกิดจากโครงสร้างทางสังคม ดังนั้นต้องแก้ปัญหาในหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นการหยุดส่งต่อการใช้อำนาจเหนือในทุก ๆ มิติของสังคม การให้มีรัฐสวัสดิการที่เพียงพอเพื่อให้สามารถเลี้ยงดูลูกโดยไม่ลำบาก การสร้างกลไกในการรองรับกับสถานการณ์ที่ผันผวน เช่น กรณีที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ หรือแม้กระทั่งการรับเลี้ยงดูบุตร การทำให้ประชาชนทราบกฎหมาย ว่าสิ่งใดที่ทำอยู่คือสิ่งที่ผิดกฎหมาย สร้างความรอบรู้ในการเข้าถึงการขอความช่วยเหลือ เมื่อเผชิญกับภาวะความเครียด เป็นต้น

นอกจากนี้ในระดับของการศึกษาก็ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน มีทักษะในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัว หากครอบครัวมีลูกก็ต้องสร้างกฎเกณฑ์ภายในครอบครัวด้วยเหตุและผล ให้ทุกคนเข้าใจบทบาทหน้าที่ ในขณะที่สังคมก็ต้องไม่มองว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มองข้ามสัญญาณที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงในครอบครัว


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสท
บทสัมภาษณ์ คุณอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณทสร บุณยเนตร (Chief Creative officer) ผู้แทน บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่
บทสัมภาษณ์ คุณชนกนันท์ ปรีดาเจริญ หรือ มินนี่ ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในคู่รัก ในงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี “Bring Back 2nd Chance of Life” คืนโอกาสดีๆ ให้ตัวเอง และเลิกให้โอกาสที่ 2 กับความรุนแรง
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy